Journal of Letters
Publication Date
2016-01-01
Abstract
In previous studies, there have been disagreements over the analyses on kaanthii- and khwaamthii- constructions which are analyzed as 5 different types of constructions. This article aims to examine these two constructions on two unsettled major issues. The first is whether kaan/khwaam and thii are two separated units as [kaan/khwaam][thii-], i.e., the head nouns kaan/khwaam modified by the thii- noun-modifying clause, or are counted as a single grammatical morpheme as [kaanthii-] and [khwaamthii-]. The other issue is what grammatical functions of kaanthii- and khwaamthii- truly are, in other words, what kinds of constructions the clauses preceded with kaanthii- and khwaamthii- are. The examinations demonstrate that kaan/khwaam and thii must be counted as a single grammatical morpheme, [kaanthii-] and [khwaamthii-], not as two syntactically separated units as the head nouns kaan/khwaam and a thii- noun-modifying clause due to their lacks of a subordination property of noun-modifying clause constructions which must be extracted into two semantically and grammatically well-formed main and subordinate clauses. Besides, it is shown that the usage of kaanthii- and khwaamthii- dyadically correspond to the usage of kaan- and khwaam-, of which functions are prefixes to a base verb to form a noun (kaanthii- corresponds to kaan-, and hwaamthii- to khwaam-). The usage of kaanthii-/khwaamthii-, and kaan-/khwaam- each interracts with semantic properties of the base verb (for kaan- and khwaam-), and of the principal verb of the main clause which to be nominalized; accordingly, kaanthii- and khwaamthii- are considered to be grammatical markers of the same morphosyntactic process as of kaan- and khwaam, i.e., "nominalization". As grammatical markers in the nominalization process, kaanthii-/khwaamthii- and kaan-/khwaam- function in a mutually exclusive environment: kaanthii- and khwaamthii- are clausal nominalizers, nominalizing a base in the clause level (clausal base), whereas kaan- and khwaam- are lexical nominalizers, operating on a lexical base.(ผลงานในอดีตที่ผ่านมายังมีความเห็นไม่ตรงกันในการวิเคราะห์หน่วยสร้าง การที่ และ ความที่ โดยผลการวิเคราะห์แตกต่างกันถึง 5 ชนิดหน่วยสร้าง บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบหน่วยสร้าง การที่ และ ความที่ ในประเด็นที่มีความเห็นไม่ตรงกัน 2 ประเด็น ประเด็นแรก คือ การที่ และ ความที่ จัดเป็นหน่วยที่แยกกัน เป็น [การ/ความ][ที่-] โดย การ/ความ เป็นคำนามหลักที่มีอนุประโยคขยายนาม ที่ มาขยาย หรือจัดเป็นหน่วยเดียวกัน เป็น [การที่-] และ [ความที่-] และประเด็นที่สอง คือ หน้าที่ทางไวยากรณ์และชนิดของหน่วยสร้างอนุประโยคที่ขึ้นต้นด้วย การที่- และ ความที่- ผลการทดสอบในประเด็นแรกพบว่า หน่วยสร้าง การที่ และ ความที่ ควรจัดเป็น หน่วยเดียวกัน นั่นคือ ไม่ใช่คำนามหลัก การ/ความ ที่ขยายด้วยอนุประโยคขยายนาม ที่ เพราะไม่มีคุณสมบัติของการซ้อนความซึ่งต้องสามารถแยกออกเป็นอนุประโยคหลักและอนุประโยคซ้อนที่มีความหมายสมบูรณ์และถูกไวยากรณ์ได้ ส่วนผลการทดสอบในประเด็นที่สองพบว่า การที่ และ ความที่ ใช้นำหน้าอนุประโยคเพื่อทำให้เป็นหน่วยสร้างที่ ทำหน้าที่อย่างนามวลี และการเลือกใช้ การที่ หรือ ความที่ สัมพันธ์สอดคล้องเป็นคู่กับการใช้ตัวบ่งชี้นามวลีแปลง การ และ ความ ที่เติมหน้ากริยาวลีเพื่อทำให้เป็นนามวลี โดยการเลือกใช้ การที่/การ หรือ ความที่/ความ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางความหมายของกริยาหลักของหน่วยฐาน และแต่ละคู่มีการปรากฏในปริภาวะไม่ซ้ำกัน กล่าวคือ การ และ ความ ทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้นามวลีแปลงเชิงศัพท์ ในการแปลงกริยาฐานศัพท์ให้เป็นนามวลี ส่วน การที่ และ ความที่ ทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้นามวลีแปลงเชิงอนุประโยคใน การแปลงหน่วยฐานในระดับอนุประโยคให้เป็นนามวลี)
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.45.1.5
First Page
NULL
Last Page
NULL
Recommended Citation
ภีมพสิษฐ์, ภีมพสิษฐ์ and ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, อมรา
(2016)
"Kaanthii- and khwaamthii- as Clausal Nominalizers in Thai(การที่- และ ความที่- ในฐานะตัวบ่งชี้นามวลีแปลงเชิงอนุประโยคในภาษาไทย),"
Journal of Letters: Vol. 45:
Iss.
1, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.45.1.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol45/iss1/5