•  
  •  
 

Journal of Letters

Publication Date

2008-07-01

Abstract

การเรียนภาษาต่างประเทศในประเทศไทยที่ยังไม่ประสบ ความสำเร็จเท่าที่ควรอาจเพราะอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนมักมีความถนัด ในการสอนและเรียนภาษาโดยยึดไวยากรณ์เป็นหลัก โดยมักเข้าใจว่าการ เรียนภาษาก็คือการเรียนไวยากรณ์ของภาษานั้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เข้าใจว่าการมีความรู้เกี่ยวกับภาษานั้นเป็นเครื่องแสดงว่ารู้ภาษานั้นแล้ว ดังนั้น ผู้เรียนชาวไทยส่วนใหญ่จึงไม่สามารถนำความรู้ภาษาต่างประเทศที่ ตนได้เรียนไปใช้สื่อสารกับชาวต่างประเทศเจ้าของภาษาได้ทั้ง ๆ ที่ผ่าน การฝึกไวยากรณ์มาอย่างมาก ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาว่า ถ้ามีการจัดการเรียนการสอน ภาษาเยอรมันที่มีเนื้อหาที่เป็นสถานการณ์การสื่อสารที่ผู้เรียนสามารถ นำไปใช้ได้โดยตรงในอนาคต เรียนโดยเน้นทักษะการฟังและพูด มีฝึกการ ออกเสียงภาษาเยอรมันอย่างถูกต้องที่เจ้าของภาษาฟังเข้าใจได้ และมีการ จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนรับผิดชอบในการเรียนของตนแล้ว ผู้เรียนน่าจะเรียนภาษาเยอรมันได้เร็วและมีประสิทธิภาพในระยะเวลาอัน สั้นได้ ทั้งนี้ โดยอาศัยแนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนภาษาเยอรมันในฐานะ ภาษาที่ 3 (Deutsch als Tertiarsprache) และแนวคิดเรื่อง Lerner Autonomy

DOI

10.58837/CHULA.JLETTERS.37.2.3

First Page

67

Last Page

108

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.