Journal of Letters
Publication Date
2008-01-01
Abstract
บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การนำเสนอ ภาพลักษณ์ของพระพุทธเจ้าในกวีนิพนธ์ The Light of Asia ของเซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ กวีนิพนธ์ที่ว่าด้วยพุทธประวัติและคำสอนของพระพุทธเจ้า ชิ้นนี้ได้รับการประพันธ์ในปี ค.ศ. 1879 ในสมัยวิกตอเรีย กวีประกอบสร้าง ผลงานจากองค์ประกอบสำคัญ อันได้แก่ ตัวบทวรรณคดีพุทธศาสนาและ มโนทัศน์ทางวัฒนธรรมในสังคมตะวันตก อันได้แก่ แนวคิดวิทยาศาสตร์ และมนุษยนิยม เป็นต้น อาร์โนลด์นำเสนอภาพลักษณ์พระพุทธเจ้าในฐานะ มนุษย์ผู้วิวัฒน์ในแง่ของจิตวิญญาณ ปัญญาของพระองค์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น จากการเรียนรู้ผู้คนและสิ่งแวดล้อม ในทัศนคติของพระพุทธเจ้า มนุษย์เป็น ศูนย์กลางของความทุกข์ และมนุษย์มีศักยภาพที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง พระองค์ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งจึงได้เสียสละออกเดินทางเพื่อศึกษาเรียนรู้ทาง พ้นทุกข์ นอกจากนี้ กวีได้เน้นนำเสนอภูมิปัญญาของเจ้าชายสิทธารถะในฐานะ มนุษย์ เจ้าชายสิทธารถะในกวีนิพนธ์ The Light of Asia มีความแตกต่างจาก เจ้าชายสิทธารถะในวรรณคดีพุทธประวัติเล่มอื่น กล่าวคือ พระองค์สามารถ สั่งสอนผู้คนให้เห็นสัจธรรมในขณะที่ยังมิได้ตรัสรู้ คุณสมบัติดังกล่าวสื่อถึง ภาพลักษณ์พระพุทธเจ้าในมโนทัศน์ของเซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ที่มีความเป็น มนุษย์ผู้วิวัฒน์ในแง่ปัญญาและจิตวิญญาณ
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.37.1.7
First Page
199
Last Page
221
Recommended Citation
ปิ่นทองวิชัยกุล, วิศิษย์
(2008)
"ภาพลักษณ์พระพุทธเจ้าในฐานะมนุษย์ผู้อภิวัฒน์ใน The Light of Asia,"
Journal of Letters: Vol. 37:
Iss.
1, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.37.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol37/iss1/8