Journal of Letters
Publication Date
2008-01-01
Abstract
บทความชิ้นนี้นำเสนอมโนทัศน์เรื่องความหลากหลายทาง วัฒนธรรมโดยอภิปรายเชื่อมโยงกับการคลี่คลายของสังคมในแต่ละยุคสมัย ทั้งนี้สามารถแบ่งได้เป็นสามช่วงเวลาคือในช่วงรอยต่อจากสังคมก่อน สมัยใหม่สู่สังคมสมัยใหม่ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีนัยยะสื่อถึง ความไม่เท่าเทียมกันทางชนชั้น เพศสถานะ และชาติพันธุ์ ด้วยเหตุนี้จึงมี การเคลื่อนไหวผลักดันให้หลอมรวมความหลากหลายเป็นหนึ่งเดียว เพื่อ สร้างความเสมอภาคทางสังคมของกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ในสังคมสมัยใหม่ เอกภาพความเป็นหนึ่งเดียวได้ทวีความเข้มข้นจนกลายเป็นเอกรูปทาง วัฒนธรรม ที่กดทับและปฏิเสธอัตลักษณ์ของกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ในสังคม ในยุคนี้มีการนําความหลากหลายทางวัฒนธรรมไปเปรียบเทียบกับความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสนับสนุนความสำคัญของความหลากหลายทางวัฒนธรรมต่อความสมัครสมานในสังคม ความแตกต่างจึงมิใช่ เครื่องหมายแสดงความไม่เท่าเทียมกัน แต่คือการเปิดกว้างยอมรับความหลากหลาย แนวคิดดังกล่าวนำไปสู่การยกย่อง เชิดชู รื้อฟื้นและ แม้กระทั่งสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ตาม แนวคิด เรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเชิงความหลากหลายทางชีวภาพที่ เน้นความเป็นสารัตถนิยมเริ่มถูกท้าทายมากขึ้น นักวิชาการจำนวนหนึ่ง แย้งว่าอัตลักษณ์กลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ นั้นมิได้ชัดเจน ตายตัว และเป็นหนึ่งเดียว เฉกเช่นประเภทต่างๆ ของพืช สัตว์ และสรรพสิ่งในธรรมชาติ แต่ ผสมผสานและซ้อนทับกันอยู่ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีการเสนอแนวคิดว่า ความหลากหลายทางวัฒนธรรมคือสภาวะพันทาง (hybridity) ทางวัฒนธรรม
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.37.1.1
First Page
16
Last Page
36
Recommended Citation
ภัทรกุลวณิชย์, ชูศักดิ์
(2008)
"ความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากหลอมรวมเป็นหนึ่ง สู่ผสมผสานพันทาง,"
Journal of Letters: Vol. 37:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.37.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol37/iss1/2