Journal of Letters
Publication Date
2007-06-01
Abstract
การสอนไวยากรณ์แบบประเพณีนิยมคือ การสอนไวยากรณ์ แบบที่ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้สอนจะเป็นผู้กําหนดหัวข้อ ไวยากรณ์ ให้ความรู้ทางไวยากรณ์ และประเมินความรู้ ความสามารถทางไวยากรณ์ของผู้เรียน อย่างไรก็ตาม การสอนใน ลักษณะนี้อาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอเนื่องจาก ไม่ได้คำนึงถึง กระบวนการเรียนรู้ภาษาที่สองอย่างแท้จริง ดังที่ Ruthford (1988) กล่าวไว้ว่า "การเรียนรู้ภาษาที่สองมิใช่กระบวนการสะสมสิ่งที่มีอยู่ (เช่นความรู้)" บทความนี้เป็นการรายงานวิธีการสอนไวยากรณ์ชั้นกลางแบบให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้ความคิดของ (1) focus on form (2) การเขียนบันทึกและการทำแฟ้มสะสมงาน โดยผู้สอนจะให้ ผู้เรียนทํากิจกรรมก่อน แล้วให้ผู้เรียนหาข้อผิดทางไวยากรณ์ด้วย ตนเอง ก่อนที่จะไปหาข้อผิดของเพื่อนในกลุ่มย่อยที่จัดขึ้น หลังจาก นั้นผู้สอนจึงกำหนดหัวข้อไวยากรณ์โดยอ้างอิงจากลักษณะความผิด ของผู้เรียน แล้วจึงอธิบายไวยากรณ์ในที่สุด นอกจากนี้ผู้เรียนจะต้อง เขียนบันทึกการเรียนรู้และทําแฟ้มสะสมงานเพื่อฝึกหันกลับไปมอง และจดบันทึกกระบวนการเรียนรู้ของตน บทความนี้ยังได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนโดยใช้แบบสอบถามและพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่พอใจ อย่างไรก็ตามผลของแบบสอบถามทำให้ทราบ ว่ายังมีปัญหาที่ต้องคำนึงอยู่ด้วย
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.36.2.7
First Page
143
Last Page
175
Recommended Citation
คะตะกิริ, กนกวรรณ เลาหบูรณะกิจ
(2007)
"การสอนไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นชั้นกลาง โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง,"
Journal of Letters: Vol. 36:
Iss.
2, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.36.2.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol36/iss2/7