Journal of Letters
Publication Date
2007-06-01
Abstract
ในประเทศไทยมีการเรียนการสอนภาษาเยอรมันมานานกว่า 80 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีการรวบรวม วิเคราะห์และสรุปให้เห็น พัฒนาการของการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในประเทศไทยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ ประการแรก เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และสรุปให้เห็น พัฒนาการของการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในประเทศไทยทั้งใน ระดับโรงเรียนและระดับมหาวิทยาลัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เริ่ม จากประวัติ กระบวนการเรียนการสอน หลักสูตร การพัฒนาสื่อการ สอน การผลิตบุคลากรผู้สอนและผู้เรียน ทัศนคติและความคาดหวัง ของผู้เรียนและผู้สอน ผลงานวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนภาษาเยอรมัน นอกจากนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับองค์กรและหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในประเทศไทย วัตถุประสงค์ประการที่สองคือเพื่อชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคและปัญหาของการเรียนการสอน ภาษาเยอรมันในอนาคต กล่าวคือ ปัญหาที่ว่า ใครเป็นผู้กำหนด นโยบายการเรียนการสอนภาษาเยอรมันหรือภาษาต่างประเทศในประเทศไทย โดยชี้ให้เห็นปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจหรือการตีความที่แตกต่างกันในเรื่องการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางใน พระราชบัญญัติปฏิรูปการศึกษาของไทยในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบ ทางอ้อมต่อการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในด้านการกำหนดเป้าหมายและการปรับปรุงการเรียนการสอน ผู้เขียนวิเคราะห์ให้เห็นแนวทางว่าประเทศไทยควรส่งเสริมการเรียนภาษาต่างประเทศโดยพิจารณาจากปัจจัยใด และเรียกร้องให้มีหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในการกําหนดนโยบายของรัฐว่าด้วยการสอนภาษาต่างประเทศในประเทศไทยเพื่อกําหนดทิศทางและแผนงานที่แน่นอนและแจ่มชัดเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาเยอรมันหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้การเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ในประเทศไทยเกิดความสูญเปล่า
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.36.2.2
First Page
14
Last Page
63
Recommended Citation
แสงอร่ามเรือง, วรรณา
(2007)
"การเรียนการสอนภาษาเยอรมันในประเทศไทย อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต,"
Journal of Letters: Vol. 36:
Iss.
2, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.36.2.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol36/iss2/2