•  
  •  
 

Journal of Letters

Publication Date

2007-01-01

Abstract

บทความเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสํารวจและศึกษาถึงองค์ความรู้ด้านอิหร่านศึกษา (Iranian Studies) ซึ่งมีอยู่ในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาและข้อจำกัดเกี่ยวกับการวิจัยด้านอิหร่านศึกษา ตลอดจนเสนอตัวอย่างและแนวทางการสร้างงานวิจัยด้านอิหร่านศึกษาอันจะเป็นรากฐานพัฒนาความรู้ด้านนี้ในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าสังคมไทยในอดีตมีความรู้เกี่ยวกับอิหร่านศึกษาโดยผ่านทางปฏิสัมพันธ์ ระหว่างคนไทยกับชนเชื้อชาติอิหร่านที่เดินทางเข้ามาสู่สยามตั้งแต่สมัยอยุธยา ความรู้ดังกล่าวผ่านจากชาวอิหร่านไปยังชนชั้นนำก่อนจะแพร่หลายสู่สังคมทั่วไป องค์ความรู้นี้ปรากฏในรูปแบบต่างๆทั้งด้านภาษา ศิลปวัฒนธรรม และ วิทยาการแขนงต่าง ๆ ชนชั้นนำไทยยังได้ปรับเอาความรู้ดังกล่าวมาใช้ ประโยชน์ในการปกครอง ด้านวัฒนธรรม และอื่นๆ ความรู้ด้านอิหร่านศึกษา ซบเซาลงในช่วงที่สังคมไทยหันไปรับวิทยาการความเจริญจากโลกตะวันตก ตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา กระทั่งถึง พ.ศ. 2519 ตัวแทนรัฐบาล ประเทศไทยและอิหร่านได้ลงนามร่วมกันในสัญญาข้อตกลงระหว่างประเทศ สำหรับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเพื่อกระชับความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือด้านการศึกษาและการสร้างองค์ความรู้ระหว่างสองประเทศยังมี อยู่อย่างจำกัด แต่หลังการปฏิวัติอิสลามอิหร่าน พ.ศ. 2522 และประเทศ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่านเข้าสู่ภาวะมีเสถียรภาพแล้ว จึงได้มีการจัดตั้ง "องค์การวัฒนธรรมและอิสลามสัมพันธ์" (Islamic Culture and Relations Organization (ICRO) ) เมื่อ พ.ศ. 2537 เพื่อดําเนินการส่งเสริมและเผยแพร่ ความรู้ด้านต่างๆเกี่ยวกับประเทศอิหร่าน ทําให้องค์ความรู้ด้านอิหร่านศึกษา ได้รับการส่งเสริมและเผยแพร่ในประเทศไทยมากขึ้น

DOI

10.58837/CHULA.JLETTERS.36.1.8

First Page

241

Last Page

279

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.