Journal of Letters
Publication Date
2007-01-01
Abstract
บทความวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาความสำคัญของความฝันเรื่องอัศวิน อาหรับที่ปรากฏในหนังสือโคลง The Prelude เล่มห้า ประพันธ์โดยเวิดส์เวิร์ท โดยเฉพาะในแง่มุมที่กวีนิพนธ์ตอนนี้สะท้อนแนวคิดหลักสองประการของ วรรณกรรมยุคโรแมนติก อันได้แก่ อัตตาและชาติบ้านเมืองหรืออาณาจักร ในบทความวิจัยนี้ ผู้เขียนจะวิเคราะห์ลักษณะเด่น ๆ ของกวีนิพนธ์ที่ยกมานี้ (กรุณาดูภาคผนวก) เพื่อชี้ว่าแม้ว่ากวีนิพนธ์ตอนนี้จะเป็นแบบอย่างของกระบวนการโรแมนติกอย่างเห็นได้ชัด ทว่าในขณะเดียวกันก็มีองค์ประกอบของ อุดมการณ์ของยุคเรืองปัญญาอยู่ด้วย ในการวิเคราะห์และตีความตัวบท ผู้เขียนใช้แนวทางการวิจารณ์วรรณคดีเชิงจิตวิทยาควบคู่ไปกับแนวคิดสหบท โดยเน้นวิเคราะห์คุณสมบัติที่สําคัญของกวีนิพนธ์โรแมนติกซึ่งปรากฏในตัวบท อันได้แก่ ความสนใจเรื่องอัตตา การอุทิศตนต่อการสร้างสรรค์งานวรรณกรรม และต่อการจรรโลงสังคม เอกัตนิยม และการใช้ภาพลักษณ์ทะเล ในส่วนที่ เกี่ยวกับบทบาทของอัศวินอาหรับหรือ "บุรุษผู้กึ่งหนึ่งคืออัศวินกิโฆเต" ได้ข้อสรุปทั้งจากนัยที่ปรากฏในตัวบทและจากนัยประหวัดที่อนุมานเอาเองว่า อัศวินอาหรับเป็นสัญลักษณ์ของการอุทิศตนเพื่ออุดมคติ สัญลักษณ์ของความแน่วแน่ในพันธกิจของตน และเปรียบประดุจสะพานเชื่อมโยงมรดกทางความคิดของกรีกโบราณกับอารยธรรมของยุโรปตะวันตกและยุโรปเหนือเข้าด้วยกัน ท้ายที่สุดบทความวิจัยนี้ทําให้ผู้เขียนได้พบว่าบทกวีที่ยกมานอกจากจะสดุดีสถานะอันสูงส่งของคณิตศาสตร์และวรรณกรรม อันเป็นการเน้น การศึกษาอบรมเพาะบ่มนิสัยและจิตวิญญาณของปัจเจกบุคคลแล้ว ยังมีมิติ ด้านสังคมอีกด้วย คือมีความก้องกังวานและเกี่ยวข้องสัมพันธ์โดยตรงกับ "อาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาลแห่งสังคมมนุษย์"
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.36.1.7
First Page
207
Last Page
240
Recommended Citation
ขันธวิเชียร, สงวนศรี
(2007)
"เวิดส์เวิร์ทกับความฝันเรื่องอัศวินอาหรับ อัตตาและ "อาณาจักร","
Journal of Letters: Vol. 36:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.36.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol36/iss1/7