Journal of Letters
Publication Date
2007-01-01
Abstract
พ่อค้ามุสลิมชาวอินเดียมีบทบาทต่อการค้าผ้าของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ่อค้าเหล่านี้เป็นผู้นำผ้าชนิด ต่างๆเข้ามาขายในสยาม ทั้งยังเป็นผู้กระจายสินค้าผ้าอินเดียไปสู่ชาวสยาม ตั้งแต่ชนชั้นสูงถึงไพร่บ้านพลเมือง ผ้าที่นำเข้าจากอินเดียมีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ สองภูมิภาคคือจากแคว้นกุจราต (Gujarat) ทางตะวันตกของอินเดีย และ ชายฝั่งโคโรเมนเดล (Coromandel Coast) ทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของ อินเดีย การค้าผ้าในสมัยอยุธยาส่วนใหญ่อยู่ในมือของพ่อค้าเปอร์เซียและ พ่อค้าอินเดียซึ่งมีทั้งผ้าที่ผลิตตามแบบแขกและที่ออกแบบส่งลายไปให้ช่างอินเดียผลิตตามรสนิยมของชาวสยาม ต่อมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์พ่อค้าชาว อินเดียเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการค้าผ้า พวกเขาได้ตั้งห้างจำหน่ายสินค้ามี ชื่อเสียงเช่น ห้างมัสกาตีของพ่อค้าอินเดียตระกูลมัสกาดี มุสลิมนิกายชีอะห์ เชื้อสายอินเดียกลุ่มโบราห์จากเมืองสุรักที่เดินทางเข้ามาทำการค้าและตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตธนบุรี
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.36.1.5
First Page
173
Last Page
188
Recommended Citation
โพธิ์ศรีทอง, ประภัสสร
(2007)
"พ่อค้ามุสลิมกับการค้าผ้าอินเดียในหน้าประวัติศาสตร์ไทย,"
Journal of Letters: Vol. 36:
Iss.
1, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.36.1.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol36/iss1/5