Journal of Letters
Publication Date
2007-01-01
Abstract
ความรู้เกี่ยวกับมุสลิมหรือ "มุสลิมศึกษา" (Muslim Studies) ใน สังคมไทยปรากฏอยู่ในหลักฐานทั้งลายลักษณ์และงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ความรู้ดังกล่าวยังคง สืบทอดต่อกันมาและนำเสนอสู่สังคมในรูปแบบต่างๆ บทความเรื่องนี้ ต้องการอธิบายถึงชุดความรู้เกี่ยวกับมุสลิมกลุ่มต่างๆ ซึ่งรับรู้ในหมู่ปัญญาชน ชาวสยามสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นโดยศึกษาผ่านทางงานประพันธ์และ ศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับมุสลิมที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งการรับรู้ เกี่ยวกับมุสลิมในหลักฐานดังกล่าวมีรูปแบบที่เป็นสหวิทยาการเกิดจากการ ผสมผสานภูมิความรู้เดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเข้ากับความรู้ด้านชาติพันธุ์วรรณาที่ได้รับอิทธิพลมาจากโลกทัศน์ตะวันตกซึ่งเข้ามาสู่สังคมสยามตั้งแต่ รัชกาลที่ 3 จนเกิดเป็นชุดความรู้และได้รับการจารจารึกไว้ที่มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของสยามประเทศ
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.36.1.2
First Page
36
Last Page
111
Recommended Citation
จุฬารัตน์, จุฬศพงศ์
(2007)
""แขก" ในโคลงภาพคนต่างภาษาที่วัดโพธิ์ ภาพสะท้อนมุสลิมศึกษาในหมู่ปัญญาชนสยามสมัยต้นรัตนโกสินทร์,"
Journal of Letters: Vol. 36:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.36.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol36/iss1/2