Journal of Letters
Publication Date
2007-01-01
Abstract
ในสังคมอยุธยาพราหมณ์เป็นกลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาในแง่มุมทาง ศาสนาเป็นส่วนใหญ่จนทำให้หลงลืมว่าพราหมณ์มีแง่มุมทางสังคมด้านอื่นที่ สัมพันธ์กับกลุ่มคนหลากหลายเชื้อชาติศาสนาในสังคมอยุธยา บทความนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพราหมณ์ในแง่มุมของสังคม วิถีชีวิต และเศรษฐกิจในเมืองนครศรีธรรมราชจากตํานานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช และบริบททางประวัติศาสตร์ที่แวดล้อมในสมัยอยุธยา ผลจากการศึกษาพบว่าในสังคมอยุธยาพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชไม่ได้มีบทบาททางด้านศาสนาเท่านั้น พราหมณ์ในเมืองนครศรีธรรมราชยังรวมกลุ่มกันเป็นชุมนุมหลายกลุ่ม ทั้งพราหมณ์พิธี และกลุ่มของพราหมณ์ที่ข้องเกี่ยวกับการค้า โดยมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และการเมืองของกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ ในสมัยอยุธยาตอนต้นถือเป็นระยะแรกของการประดิษฐานศาสนาพราหมณ์รอบใหม่ในเมืองนครศรีธรรมราช พราหมณ์ที่อาศัยอยู่ในเมืองนคร ได้รับการคุ้มครองจากกรุงศรีอยุธยาด้วยกฎหมายที่ปรากฏอยู่ในตำนาน พราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งของกลุ่มพราหมณ์กับกลุ่มคนอื่น ๆ ในสังคม ภายหลังจากนี้พราหมณ์ในเมืองนครได้ ขยายตัวมากขึ้น และเมื่อถึงในสมัยอยุธยาตอนปลายตรงกับรัชสมัยพระ เจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ศาสนาพราหมณ์ในเมืองนครได้เสื่อมลงอันเป็นเหตุผลที่ กลุ่มคนเหล่านี้ได้เข้าไปข้องเกี่ยวกับการค้าที่ขยายตัวขึ้นอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.36.1.1
First Page
1
Last Page
35
Recommended Citation
กระแจะจันทร์, พิพัฒน์
(2007)
"ตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช : ภาพสะท้อนชีวิตและสังคมพราหมณ์ในสมัยอยุธยา,"
Journal of Letters: Vol. 36:
Iss.
1, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.36.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol36/iss1/1