Journal of Letters
Publication Date
2008-01-01
Abstract
ในประเทศไทยมีการเรียนการสอนภาษาเยอรมันมานานกว่า 80 ปี แล้ว แต่ยังไม่มีการรวบรวม วิเคราะห์ และสรุปผลให้เห็นพัฒนาการของการ เรียนการสอนภาษาเยอรมันในประเทศไทยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ ประการแรก เพื่อ รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปให้เห็นพัฒนาการของการเรียนการสอน ภาษาเยอรมันในประเทศไทยทั้งในระดับโรงเรียนและระดับมหาวิทยาลัย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยศึกษาและวิเคราะห์ในด้านต่างๆ เริ่มจากประวัติ กระบวนการเรียนการสอน หลักสูตร การพัฒนาสื่อการสอน การผลิตบุคลากร ผู้สอนและผู้เรียน ตลอดจนทัศนคติและความคาดหวังของผู้เรียนและผู้สอน รวมทั้งนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน ภาษาเยอรมัน เช่น การสํารวจความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการเรียน ภาษาเยอรมันในระดับอุดมศึกษา เป็นต้น นอกจากนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับองค์กร และหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในประเทศไทย วัตถุประสงค์ประการที่สองคือ เพื่อชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคและปัญหาของการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในอนาคต กล่าวคือ ปัญหาที่ว่า ใครเป็นผู้กําหนดนโยบายการเรียนการสอน ภาษาเยอรมันหรือภาษาต่างประเทศในประเทศไทย โดยชี้ให้เห็นปัญหาที่ เกิดจากความเข้าใจหรือการตีความที่แตกต่างกันในเรื่องการเน้นผู้เรียนเป็น ศูนย์กลางในพระราชบัญญัติปฏิรูปการศึกษาของไทยในปัจจุบันที่ส่งผล กระทบทางอ้อมต่อการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในด้านการกำหนด เป้าหมายและการปรับปรุงการเรียนการสอน ผู้เขียนวิเคราะห์ให้เห็นแนวทางว่าประเทศไทยควรส่งเสริมการเรียนภาษาต่างประเทศโดยพิจารณาจาก ปัจจัยใด และเรียกร้องให้มีหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในการกำหนด นโยบายของรัฐว่าด้วยการสอนภาษาต่างประเทศในประเทศไทยเพื่อกำหนด ทิศทางและแผนงานที่แน่นอนและแจ่มชัดเกี่ยวกับการเรียนการสอน ภาษาเยอรมันหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ ในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้การ เรียนการสอนภาษาต่างประเทศในประเทศไทยเกิดความสูญเปล่า
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.36.0.9
First Page
224
Last Page
250
Recommended Citation
แสงอร่ามเรือง, วรรณา
(2008)
"การเรียนการสอนภาษาเยอรมันในประเทศไทย อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต : การค้นคว้าวิจัยและองค์กร หน่วยงาน หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาการ สอนภาษาเยอรมันในประเทศไทย,"
Journal of Letters: Vol. 36:
Iss.
0, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.36.0.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol36/iss0/9