Journal of Letters
Publication Date
2008-01-01
Abstract
บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาตัวบท กามนิต ของเสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป ในฐานะวรรณคดีพุทธศาสนาที่แปลจากต้นฉบับ ภาษาอังกฤษของ John E. Logie เพื่อให้เข้าใจการผสมผสาน หรือ "การ เดินทาง" ของ "ปัญญา" และ "จินตนาการ" ของผู้สร้างงานและผู้เสพงาน ในขบวนการสร้างตัวบทกามนิตมาเป็นวรรณคดีไทยที่งดงามเป็นแบบฉบับ ทั้งด้านเนื้อหาและภาษาอันประณีตวิจิตร จากการวิเคราะห์ตัวบท กามนิต ในฐานะเป็นวรรณคดีพุทธ ศาสนา พบว่าคุณค่าของกามนิตเริ่มต้นจากผู้แปลตัวบทเป็นภาษาไทยซึ่ง เป็นปราชญ์ทั้ง 2 ท่าน และที่สำคัญคือเป็นพุทธศาสนิกชนผู้เต็มเปี่ยมด้วย ศรัทธาและปัญญา จึงได้วิริยะอุตสาหะบรรจงสร้างให้กามนิตมีความเป็น วรรณคดีพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ที่สุด พยายามตกแต่งเสริมสร้างตัวบท ให้ดูเหมือนมีที่มาจากพระสูตรมหายาน อ้างชื่อว่า กามนิตสูตร ทั้งรจนา คาถาบูชาพระโพธิสัตว์ในตอนต้นเรื่องและจบเรื่อง และยังเสริมเติมแต่ง บางบทบางตอนให้เหมาะกับผู้อ่านส่วนใหญ่ที่เป็นพุทธศาสนิกชน แม้ว่าเนื้อหาของเรื่องจากต้นฉบับจะเป็น "นิยายรัก" (romance) แต่ผู้แปลก็ประณีตบรรจงกับการรังสรรค์ให้นิยายรักนี้เป็นนิยายรักทาง ธรรมได้อย่างวิเศษ ซึ่งทำให้แนวคิดสำคัญของเรื่องคือ "ความรักอัน ประกอบด้วยสัจจะและศรัทธาอาจเป็นปัจจัยหนุนนำไปสู่นิพพานได้" มีความสมบูรณ์โดดเด่น
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.36.0.1
First Page
1
Last Page
28
Recommended Citation
จงสถิตย์วัฒนา, สุจิตรา
(2008)
"การเดินทางของปัญญาและจินตนาการ ใน กามนิต ของเสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป,"
Journal of Letters: Vol. 36:
Iss.
0, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.36.0.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol36/iss0/1