Journal of Letters
Publication Date
2006-07-01
Abstract
บทความนี้เสนอการวิเคราะห์กระบวนความคิดเชิงภาษาศาสตร์ของคำว่า "ฝัน" เนื่องจาก "ฝัน" เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และเกิดในเวลาที่เราหลับโดยที่เรา ไม่รู้สึกตัวและไม่มีสติสัมปชัญญะ หรือหากเป็น "ฝันกลางวันแสดงความปรารถนา" ก็ยังไม่เกิดขึ้นจริงในโลกปัจจุบันและเป็นเพียงจินตนาการเท่านั้น ดังนั้นเพื่อศึกษาว่า เรามีกระบวนความคิดเกี่ยวกับ "ฝัน" อย่างไร ผู้วิจัยจึงเลือกวิเคราะห์คําว่า "ฝัน" ตามทฤษฎีภาษาศาสตร์แนวปริชาน (cognitive linguistics) 2 ทฤษฎี คือทฤษฎี ภาพความคิดของแลงแอคเคอร์ (Langacker 1991) และทฤษฎีอุปลักษณ์ของเลคอฟ และจอห์นสัน (Lakoff and Johnson 1980) จากข้อมูลตัวอย่างคําว่า "ฝัน" จาก วรรณกรรมตะวันตก 3 เรื่องคือ เรื่อง วันอังคารกับครูมอร์รี่ แต่งโดย มิทช์ อัลบอม (Albom 1997) เรื่อง บุคคลทั้งห้าที่เราพบบนสวรรค์ แต่งโดย มิทช์ อัลบอม (Albom 2003) และวรรณกรรมชุด แฮรี่ พอตเตอร์ แต่งโดย เจ.เค.โรว์ลิง (Rowling 1998-2005) ผลการวิเคราะห์คำว่า "ฝัน" ที่ปรากฏในวรรณกรรมตะวันตก ผู้วิจัยพบว่า ชาวตะวันตกมีกรอบความคิดเกี่ยวกับคำว่า "ฝัน" ในลักษณะเป็นคำกริยามากกว่า คำนาม แต่เมื่อเป็นคำนามจะเน้นที่ความแตกต่างในการนับได้ พจน์ และสภาพ สิ้นสุดหรือไม่ โดยใช้ความหมายต่างๆ ของคําว่า "ฝัน" เป็นปัจจัยหลักในการแยก ความแตกต่าง แต่ในภาษาไทยจะเน้นความแตกต่างของคํานามในด้านกริยาหรือ นามธรรม คือ การฝัน และ ความฝัน ส่วนในทฤษฎีอุปลักษณ์นั้น ตัวอย่างจาก วรรณกรรมตะวันตกสะท้อนทัศนคติและความเชื่อของชาวตะวันตกเกี่ยวกับความฝัน ในด้านความหมายที่เป็นสากลลักษณ์ที่ปรากฏเป็นอุปลักษณ์คือ ความฝันคือ จินตนาการ ความฝันคือความปรารถนา และ การฝันคือการคาดหวัง
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.35.2.12
First Page
288
Last Page
309
Recommended Citation
เริงพิทยา, รุ่งภัทร
(2006)
"มุมมองทางภาษาศาสตร์ของคำว่า "ฝัน","
Journal of Letters: Vol. 35:
Iss.
2, Article 12.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.35.2.12
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol35/iss2/12