Journal of Letters
Publication Date
2006-01-01
Abstract
วรรณกรรมเรื่อง เก็นจิโมะโนะงะตะริ เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของ ญี่ปุ่น แต่งขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1001 เป็นนิยายรักเรื่องยาว กล่าวถึงเรื่องราว ในช่วงชีวิต 70 ปี ของฮิกะรุเก็นจิซึ่งมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงหลายคน บทความ วิจัยนี้ศึกษาถึงหน้าที่ของฤดูกาลต่างๆ ในเรื่อง เก็นจิโมะโนะงะตะริ โดย รวบรวมข้อมูลจากตัวเรื่องและสังเกตดูว่ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นใน ฤดูกาลใดบ้าง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปหาความสัมพันธ์ต่างๆ จาก การศึกษาพบว่าผู้เขียนได้ใช้ฤดูกาลช่วยเน้นภาพลักษณ์ของตัวละครต่างๆ ในเรื่อง เช่น ฤดูใบไม้ผลิใช้เน้นภาพลักษณ์ตัวละครหญิงที่เป็นตัวเอกและมี บทบาทสำคัญในเรื่อง เป็นต้น อีกทั้งผู้เขียนยังใช้ฤดูกาลและสิ่งที่มีอยู่ใน ฤดูกาลนั้นๆ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมด้วย เช่น ฤดูใบไม้ร่วง เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นอนิจจังของชีวิต หรือหิมะในฤดูหนาวเป็น สัญลักษณ์แสดงถึงความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูก นอกจากนี้ สภาพ อากาศของฤดูกาลต่างๆ ยังช่วยเสริมเน้นบรรยากาศของฉากสำคัญๆ ในเรื่อง ทำให้ผู้อ่านรู้สึกตื่นเต้นและมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครในฉากนั้นๆ ด้วย
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.35.1.8
First Page
193
Last Page
216
Recommended Citation
สุวรรณระดา, อรรถยา
(2006)
"หน้าที่ของฤดูกาลในวรรณกรรมเรื่อง เก็นจิโมะโนะงะตะริ,"
Journal of Letters: Vol. 35:
Iss.
1, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.35.1.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol35/iss1/8