Journal of Letters
Publication Date
2006-01-01
Abstract
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาโดยกลุ่มเขมรแดงระหว่าง ค.ศ. ถึง 1979 ส่งผลให้เกิดวรรณกรรมประเภทใหม่ในวงวรรณกรรม กัมพูชาคือวรรณกรรมประจักษ์พยานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ วรรณกรรม ประเภทนี้ปรากฏใน 2 รูปแบบคือ สารคดีประจักษ์พยานประเภทบันทึก ความทรงจำและชีวประวัติซึ่งเขียนเป็นภาษาตะวันตกและบันเทิงคดี ประจักษ์พยานในภาษาเขมร บทความนี้มุ่งศึกษาประจักษ์พยานนิยายภาษา เขมร โดยเลือกนวนิยายเรื่อง วิบัติในสมรภูมิรัก ของ ภูวง รฐา เป็น กรณีศึกษา การศึกษาพบว่าลักษณะสำคัญที่สุดของประจักษ์พยานนิยาย กัมพูชาคือการผสมผสานอันกลมกลืนระหว่างข้อเท็จจริงและจินตนาการซึ่ง ปรากฏในทุกองค์ประกอบของเรื่องเล่า ผู้ประพันธ์เลือกนำเสนอความจริง เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัมพูชาผ่านนวนิยายภาษาเขมรในขณะที่เลือก เขียนบันทึกความทรงจําในสมัยเขมรแดงเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพราะมี วัตถุประสงค์จะส่ง "สาร" เกี่ยวกับวิธีการเยียวยาบาดแผลของผู้รอดชีวิตไป ยังผู้อ่านชาวเขมรโดยเฉพาะ นอกจากหน้าที่ในเชิงจิตวิทยาแล้ว ประจักษ์พยานนิยายกัมพูชายังมีหน้าที่เชิงวัฒนธรรมต่อชาวกัมพูชา รุ่นใหม่และหน้าที่เป็นอนุสรณ์แก่เหยื่อผู้เสียชีวิตในสมัยเขมรแดงอีกด้วย ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันเป็นระบบของรูปแบบ ภาษาที่ ผู้ประพันธ์เลือกใช้ และหน้าที่ของ "คำให้การ" การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัมพูชาที่ ผู้เขียนนำเสนอ
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.35.1.1
First Page
1
Last Page
24
Recommended Citation
อามระดิษ, ใกล้รุ่ง
(2006)
"ประจักษ์พยานนิยายจากทุ่งสังหารกัมพูชา : ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและหน้าที่ของวรรณกรรม,"
Journal of Letters: Vol. 35:
Iss.
1, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.35.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol35/iss1/1