Journal of Letters
Publication Date
2004-06-01
Abstract
บทความเรื่องนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาภาพพฤติกรรม โจรและอันธพาลที่จิตรกรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้วาดไว้บนผนังโบสถ์วิหารของพระอารามหลวงแห่งสำคัญที่สร้างหรือปฏิสังขรณ์ขึ้นในรัชกาลนั้น โดยจะได้ศึกษาวิเคราะห์ถึง ความสำคัญของภาพโจรและอันธพาลที่จิตรกรวาดไว้ ในฐานะที่โจร และอันธพาลมีความสำคัญเป็นตัวดำเนินเรื่องในเรื่องราวทางพุทธศาสนาที่จิตรกรเลือกสรรมาวาด พร้อมกันนั้นยังศึกษาถึงรูปลักษณ์ ของโจรและอันธพาลที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยแสดงการวิเคราะห์ตัวอย่างภาพโจรและอันธพาลจำนวนหนึ่งที่วาดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 การศึกษาในขั้นตอนสุดท้ายของบทความนี้คือการศึกษา รูปลักษณ์ของโจรและอันธพาลที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยเทียบเคียงกับภาพลักษณ์ของโจรและอันธพาลที่ปรากฏในงาน วรรณกรรมร่วมสมัยที่แต่งขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 2 และ 3 เพื่อหาข้อสรุปว่าความตั้งใจของจิตรกรที่ได้วาดภาพโจรและอันธพาลประเภทต่าง ๆ ขึ้นมานั้น เป็นความตั้งใจที่จะใช้ปลายพู่กันของตนนั้นสะท้อน ภาพของสังคมสยามในเวลานั้นให้ปรากฏเป็นหลักฐานกับคนรุ่นหลัง
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.33.2.3
First Page
80
Last Page
144
Recommended Citation
บุญธรรม, ดินาร์
(2004)
"โจรและอันธพาลในจิตรกรรมฝาผนังสมัย รัชกาลที่ 3: อุดมคติผ่านปลายพู่กันสู่ภาพสะท้อนสังคม,"
Journal of Letters: Vol. 33:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.33.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol33/iss2/3