Journal of Letters
Publication Date
2004-06-01
Abstract
การขยายตัวของเศรษฐกิจแบบส่งออกโดยมีข้าวเป็นสินค้าหลัก ทำให้เกิดโครงการพัฒนาที่ดินครั้งสำคัญในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง สมัยรัชกาลที่ 5 คือการขุดคลองและบุกเบิกที่นาในโครงการรังสิต ซึ่ง ก่อให้เกิดการอพยพสู่พื้นที่นี้โดยผู้คนหลากหลายฐานะและชาติพันธุ์ ท่ามกลางการระดมทรัพยากรทางเศรษฐกิจในการผลิตข้าวทั้งในรูป เงินตราและแรงงาน ได้เพิ่มคดีและความรุนแรงของการปล้นสะดม โดยเฉพาะการปล้นและลักกระบือ ซึ่งกลายเป็นทรัพย์สินที่มูลค่าทางเศรษฐกิจสูง การพิจารณาถึงลักษณะคดีและการปล้นสะดมกระบือที่เกิด ขึ้นในพื้นที่แถบนี้ จะเห็นได้ถึงความเสื่อมคลายของความสัมพันธ์ ทางสังคมและระบบอุปถัมภ์ในยุคเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ สู่สภาพ และระบบสังคมเฉพาะของพื้นที่บริเวณดังกล่าวนี้ ซึ่งได้เกิดระบบ อุปถัมภ์แบบใหม่ ทั้งที่เป็นลักษณะเฉพาะในแต่ละกลุ่มอพยพ ที่เกิด จากระบบเช่านา จากความคุ้มครองของบริษัทเจ้าของสัมปทาน รวมถึงการจัดการโดยระบบราชการและกฎหมาย ขณะที่บทบาทของนักเลง ที่มีความสำคัญสูงในระบบสังคมแบบเดิมเริ่มหมดพลัง และกลายเป็น ผู้สร้างความเดือดร้อนไปในที่สุด
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.33.2.2
First Page
27
Last Page
79
Recommended Citation
อยู่มั่งมี, นนทพร
(2004)
"การปล้นและลักกระบือในทุ่งรังสิต: ภาพสะท้อน การเสื่อมคลายของระบบอุปถัมภ์แบบนักเลง,"
Journal of Letters: Vol. 33:
Iss.
2, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.33.2.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol33/iss2/2