•  
  •  
 

Journal of Letters

Publication Date

2004-01-01

Abstract

บทความนี้เสนอผลการวิเคราะห์การยืมคำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสเข้ามาใช้ในภาษาไทย สรุปได้ว่าการยืมคำศัพท์ส่วนใหญ่ เป็นการยืมทับศัพท์ (ประมาณ 84%) ที่เหลือเป็นการยืมแปล (ประมาณ 10%) และมีจำนวนน้อยที่เป็นคำยืมแปลประสมคำทับศัพท์ ศัพท์บัญญัติ และคำที่สร้างขึ้นโดยลากเข้าแนวเทียบ เมื่อ พิจารณาตามชนิดของคำ พบว่าส่วนใหญ่เป็นการยืมคำนาม (ประมาณ 86%) ที่เหลือเป็นคำคุณศัพท์ คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท และคำสันธาน คำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสส่วนใหญ่มีความ หมายเกี่ยวกับอาหารการกิน รองลงมาเป็นลำดับ คือ ศิลปะสาขา ต่างๆ และสังคมศาสตร์ ส่วนคำศัพท์ที่เกี่ยวกับเสื้อผ้าเครื่องแต่ง กาย และเครื่องสำอาง มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ประมาณหมวดละ 1%) คำศัพท์ที่ยืมจากภาษาฝรั่งเศสเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย พบว่ามีการกลายความหมายไปจากเดิม และมีการสะกดคำหลากหลาย ซึ่งสะท้อนการออกเสียงที่ต่างไปจากคำเดิมในภาษาฝรั่งเศส

DOI

10.58837/CHULA.JLETTERS.33.1.7

First Page

140

Last Page

154

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.