Journal of Letters
Publication Date
2004-01-01
Abstract
บทความนี้เป็นสรุปผลการวิจัยที่วิเคราะห์ลักษณะการยืม และความเข้มข้นของการยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยที่ปรากฏใน พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้อมูล ที่ใช้ในการวิเคราะห์คือพระราชหัตถเลขาฯที่ตีพิมพ์ในรูปของหนังสือ 7 เล่ม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเสด็จประพาสทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ผู้วิจัยตั้งสมมติฐานไว้ว่าพระราชหัตถเลขาที่ทรง ในปีต้นๆ แสดงลักษณะการยืมภาษาอังกฤษที่บ่งบอกความ เข้มข้นน้อยกว่าพระราชหัตถเลขาที่ทรงในปีหลัง ๆ ผลการ วิเคราะห์สอดคล้องกับสมมติฐานเฉพาะกรณีพระราชหัตถเลขาที่ทรงพระราชนิพนธ์ขณะเสด็จเยือนต่างประเทศ กล่าวคือเล่มที่ทรงพระราชนิพนธ์ก่อนมีความเข้มข้นของการยืมภาษาอังกฤษน้อยกว่าเล่มที่ทรงภายหลังลดหลั่นกันไปตามความก่อนหลังของปี ส่วนพระราชหัตถเลขาที่ทรงพระราชนิพนธ์ขณะเสด็จเยือนสถานที่ในประเทศไทยนั้น มีอัตราความเข้มข้นของการยืมภาษาอังกฤษต่ำกว่าพระราชหัตถเลขาที่ทรงคราวเสด็จเยือนต่างประเทศอย่างมาก และไม่ลดหลั่นกันตามความก่อนหลังของปีด้วย ทั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะทรงมอบหมายให้อาลักษณ์ซึ่งไม่มีหรือมีความรู้ ภาษาอังกฤษน้อยมากเป็นผู้บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ของการเดินทางแทนพระองค์ โดยภาพรวมสรุปได้ว่าภาษาไทยในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการ เปลี่ยนแปลงไปเพราะการสัมผัสกับภาษาอังกฤษในระดับค่อนข้างเข้มข้น ดังมีหลักฐานจากการยืมคำนามจำนวนมาก คำชนิดอื่น ระดับปานกลาง และมีการใช้ประโยคกรรมวาจกที่เนื่องมาจาก อิทธิพลของภาษาอังกฤษด้วย
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.33.1.3
First Page
48
Last Page
68
Recommended Citation
ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, อมรา
(2004)
"ภาษาไทยกับการสัมผัสภาษาอังกฤษที่ปรากฏใน พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,"
Journal of Letters: Vol. 33:
Iss.
1, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.33.1.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol33/iss1/3