Journal of Letters
Publication Date
2003-01-01
Abstract
จริยศาสตร์แห่งความอาทร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้รับแรง บันดาลใจจากงานเขียนเรื่อง "จากเสียงที่ต่างไป" ("In A Different Voice") ซึ่งเริ่มจากการ "ฟัง" เสียงผู้หญิงและประสบการณ์ทาง จริยธรรมของผู้หญิงกลับช่วยดึงจริยศาสตร์ให้ติดดิน หยั่งฐานจาก ความจริงของบริบทชีวิตมนุษย์ ซึ่งก็คือการอิงอาศัยซึ่งกันและกัน การที่จริยศาสตร์ดังกล่าวเน้นความสำคัญของบริบทและเรื่องเล่า ทำให้เราต้องทบทวนความเข้าใจจริยศาสตร์และปัญหาจริยศาสตร์ กันใหม่ ในกระบวนทัศน์ดังกล่าวทฤษฎีจริยศาสตร์ที่จะช่วยเป็น แนวทางการดำเนินชีวิตได้จะต้องมีที่มาจากประสบการณ์ทางจริยธรรมในบริบทชีวิตจริงของคนจริงๆ ที่มีอัตลักษณ์และดำรงอยู่ ในเครือข่ายแห่งความสัมพันธ์ ทฤษฎีจริยศาสตร์ดังกล่าวจะต้องมุ่งจุดสนใจสู่ความต้องการจริงและการสนองความต้องการนั้นๆ อย่างเหมาะสม นี่หมายความว่ามนุษย์จะต้องมีการคุยกันมากขึ้น ฟังกันมากขึ้น นอกจากการพูดคุยกันจะถือเป็นกุญแจที่จะนำไปสู่การตัดสินและการแก้ปัญหาจริยธรรมแล้วยังถือเป็นสาระสำคัญของผู้ที่มีจริยธรรมอย่างแท้จริง ที่สําคัญพอกันก็คือทฤษฎีจริยศาสตร์ที่ใช้ได้จะต้องเข้าใจปัญหาจริยธรรมว่าเป็นปัญหาในความสัมพันธ์ และชีวิตที่ดีคือชีวิตในความสัมพันธ์ที่ส่งเสริมดุลยภาพของตัวตนสัมพันธ์
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.32.1.2
First Page
11
Last Page
35
Recommended Citation
บุณยเนตร, เนื่องน้อย
(2003)
"จริยศาสตร์แห่งความอาทร,"
Journal of Letters: Vol. 32:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.32.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol32/iss1/2