Journal of Letters
Publication Date
2003-01-01
Abstract
บทความนี้ให้ภาพประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสตรีไทย โดย สะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพของสตรีไทยในด้านต่างๆ คือ ด้านชีววิทยา ความสัมพันธ์กับครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง บทวิเคราะห์ นี้ใช้หลักฐานสำคัญ 2 อย่าง คือ 1. ภาษิตโบราณของกลุ่มชาติพันธุ์ไตหรือไทยในเวียดนาม ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาษิตไตหรือไทยดังกล่าวผู้เขียนอ่านจาก ภาษาเวียดนาม 2. กฎหมายตราสามดวง กฎหมายประเพณีของไทยนี้มี มาตั้งแต่สมัยอยุธยาหรือก่อนหน้าขึ้นไป หลักฐานชิ้นแรกชี้ถึงโครงสร้างในอดีตที่ต่อเนื่องของสังคม เกษตรโบราณไทยโดยสังคมนี้ได้สืบทอดแนวคิดเรื่องความเสมอภาค ระหว่างชายหญิงจากพื้นฐานสังคมหมู่บ้านไทย แต่ในขณะเดียวกัน สังคมก็แสดงพัฒนาการอำนาจปิตาธิปไตยอย่างเห็นได้ชัดแล้ว หลักฐานชิ้นที่สองทำให้เห็นสองรูปแบบของกฎเกณฑ์และกฎหมายของรัฐ ซึ่งได้ลดทอนสถานภาพและบทบาทของสตรีไทยลงไปเรื่อยๆ กฎหมายนี้แท้ที่จริงได้เปิดเผยให้เห็นถึงสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ชายอันมีมากกว่าผู้หญิงอย่างมาก นอกจากนี้ กฎหมายตราสามดวงได้บอกให้เรารู้ถึงปัญหาที่ รุนแรงบางอย่างในสังคมประเพณีไทย ดังนี้ 1. ความยากลำบากต่างๆ ของผู้หญิง โดยเฉพาะการ ทำงานหนักแทบทุกอย่างในครัวเรือน และการเอารัดเอาเปรียบ ต่าง ๆ ตามปกติของผู้ชาย 2. สิ่งที่เห็นชัดคือมีอาชญากรรมและการคุกคามทางเพศ การทะเลาะเบาะแว้งต่างๆ ภายในครอบครัว ปัญหาข้างต้นยังซ่อน ปัญหาสืบเนื่องไปถึงการแตกสลายของครอบครัวด้วย 3. ผู้หญิงไทยในสังคมประเพณีไร้ศักดิ์ศรีของตนเอง ไร้ อิสรภาพ และดูจะขาดความสุขที่แท้จริง
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.32.1.11
First Page
246
Last Page
302
Recommended Citation
ฮั่นตระกูล, พรเพ็ญ
(2003)
"ผู้หญิงไทยในกฎหมายตราสามดวง : จากผู้หญิงเป็นใหญ่ ถึงผู้หญิงเป็นควายผู้ชายเป็นคน,"
Journal of Letters: Vol. 32:
Iss.
1, Article 11.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.32.1.11
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol32/iss1/11