Journal of Letters
Publication Date
2002-01-01
Abstract
การศึกษาคติชนในประเทศญี่ปุ่น : สมัยเอโดะ ถึง สงครามโลกครั้งที่สอง ความสนใจทางด้านคติชนในประเทศญี่ปุ่นเริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 หรือ ปลายสมัยเอโดะ ศูนย์กลางของการศึกษาส่วนใหญ่ได้แก่นักปราชญ์แห่งกลุ่ม "โคะกุงะกุ (กลุ่มศึกษาวัฒนธรรมญี่ปุ่นโบราณ) เช่น โมะโตะโอะริ โนะรินะงะ ฮิระตะ อะห์ซุตะเนะ เป็นต้น ความตื่นตัวในการอนุรักษ์ข้อมูลคติชนลดลงเมื่อเข้าสู่สมัยเมจิ เนื่องจากอิทธิพล ของแนวคิดปรับปรุงประเทศแบบตะวันตก อย่างไรก็ดี วิทยาการใหม่ ๆ ที่เข้ามาในญี่ปุ่น ในช่วงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมานุษยวิทยาก็ได้กระตุ้นความสนใจและวางรากฐาน การศึกษาวัฒนธรรม จนกระทั่งเกิดนักวิชาการคนสำคัญ ได้แก่ ยะนะงิตะ คุนิโอะผู้วาง รากฐานการศึกษาคติชนอย่างเป็นระบบให้แก่ญี่ปุ่น ยะนะงิตะให้ความสําคัญกับวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของเกษตรกรซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศมาก เพราะเขาคิดว่าจะเป็น แนวทางนำไปสู่การทำความเข้าใจแก่นแท้ของวัฒนธรรมญี่ปุ่น นอกจากนี้ จุดเด่นของ แนวคิดของเขาคือ เน้นให้นำวิชาการไปใช้ในทางปฏิบัติ ขอบข่ายการศึกษาคติชนของ เขาจึงมีเนื้อหาครอบคลุมในแทบทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต แต่ก็มีข้อเสียคือไม่มีทฤษฎี ที่ชัดเจน ตลอดจนมีความคลุมเครือในการนิยามศัพท์เฉพาะ อันเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่ง ที่นักคติชนในปัจจุบันต้องนำมาศึกษาวิเคราะห์ต่อไป
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.31.1.5
First Page
83
Last Page
104
Recommended Citation
ศีติสาร, ชมนาด
(2002)
"การศึกษาคติชนในประเทศญี่ปุ่น : สมัยเอโดะ ถึง สงครามโลกครั้งที่สอง (Folklore Studies in Japan : From the Edo Period to the Second World War),"
Journal of Letters: Vol. 31:
Iss.
1, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.31.1.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol31/iss1/5