Journal of Letters
Publication Date
2001-06-01
Abstract
อมิลิ ดิกคินสัน : ความแปลกที่โลกยอมรับ บทความเรื่องนี้มีที่มาจากการที่ผู้เขียนได้มีส่วนร่วมเสนอบทความและรับฟัง ความคิดของนักวิชาการผู้ศึกษาผลงานของเอมิล ดิกคินสัน ซึ่งเป็นกวีอเมริกันสำคัญคน หนึ่งในวงการร้อยกรองอเมริกันสมัยใหม่ (Modern American Poetry) ผู้เขียนได้เสนอภาพรวมของการสัมมนาเรื่อง "Translating Emily Dickinson in Language, Culture and the Arts " (พ.ศ. 2535) และ "Emily Dickinson Abroad: The Paradox of Seclusion (พ.ศ. 2538) รวมทั้ง "Emily Dickinson at Home: The Paradox of the Wandering Mind " (พ.ศ. 2542) เพื่อชี้ให้เห็นว่า ดิกคินสันเป็นกวีแปลก เพราะสร้างรูปประโยคไม่เหมือนกวีอื่นใด และเสนอความคิดที่ต่างจากรูปแบบวัฒนธรรม ที่ผู้คนทั่วไปยอมรับ นอกจากจะใช้ภาษาและไวยากรณ์ที่ไม่มีใครเคยใช้มาก่อน กระนั้น ในความแปลกประหลาดทั้งหมดนั้น เอมิล ดิกคินสันก็เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ ความแปลกประหลาดเหล่านั้นก็กลายเป็นอิทธิพลทั้งต่อแนวการเขียนงานวรรณกรรมร้อย กรองในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบ และต่อแนวการสร้างศิลปะ ทางด้านงานละคร ทัศนศิลป์ และดนตรี
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.30.2.5
First Page
79
Last Page
101
Recommended Citation
ไชยชิต, ฉันทนา
(2001)
"เอมิลิ ดิกคินสัน : ความแปลกที่โลกยอมรับ แนวคิดรวบยอดจากการเสนอบทความในที่ประชุม (The Emily dickinson International society Conference) ในปี พ.ศ. 2535, 2538 และ 2542,"
Journal of Letters: Vol. 30:
Iss.
2, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.30.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol30/iss2/5