Journal of Letters
Publication Date
2001-01-01
Abstract
ยุโรปในทศวรรษ 1930 การต่อสู้ระหว่างเสรีนิยมประชาธิปไตยและเผด็จการฟาสซิสต์ แม้ว่าชาวยุโรปจะผ่านประสบการณ์ที่น่ากลัวจากสงครามเบ็ดเสร็จครั้งแรกที่เกิดขึ้น แต่เพียง ก็เกิดสงครามที่ยิ่งใหญ่กว่า คือ สงครามโลกครั้งที่ 2 ฉะนั้น เพื่ออธิบายจุดเริ่มต้นของ มหาสงครามดังกล่าว บทความนี้ศึกษาถึงการต่อสู้ระหว่างเสรีประชาธิปไตยและเผด็จการ ฟาสซิสต์ในช่วงทศวรรษ 1930 โดยพิจารณาการต่อสู้ ดังกล่าวใน 2 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติ และระดับภายในยุโรป กล่าวคือ ในระดับแรกนั้น จะศึกษาถึงพลังของมวลชน และลัทธิทางการ เมืองที่ได้รับความนิยมคือ ลัทธิฟาสซิสต์ และนาซี ที่ก่อตั้งโดย เบนนิโต มุสโสลินี และ อดอฟล์ ฮิตเลอร์ ซึ่งเจริญรุ่งเรืองภายในอิตาลีและเยอรมัน และมีอิทธิพลอย่างรวดเร็วในภาคพื้นทวีปยุโรป โดยการสนับสนุนของมวลชน ในระดับที่สองศึกษาถึงจุดเริ่มต้นของความตึงเครียด ภายใน ความสัมพันธ์ของยุโรป และการพัฒนารูปแบบของความขัดแย้งทางการทหาร ศึกษาเกี่ยวกับมหาอำนาจ 4 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมัน ซึ่งมีบทบาท สำคัญที่สุดในเหตุการณ์ของยุโรปที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ และเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่ สองตั้งแต่จุดเริ่มต้น ในบทสรุปของบทความ ผู้เขียนได้เสนอว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น มีจุดเริ่ม โดยเน้นการ ต้นมาจากการที่เสรีประชาธิปไตยล้มเหลวในการขัดขวางพฤติกรรมรุกรานของเผด็จการฟาสซิสต์
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.30.1.3
First Page
38
Last Page
65
Recommended Citation
เรืองศิลป์, ภาวรรณ
(2001)
"ยุโรปในทศวรรษที่ 1930 การช่วงชิงพื้นที่ ระหว่างเสรีประชาธิปไตยกับเผด็จการฝ่ายขวา (Europe in the 1930s : The Struggle Between Liberal Democracy and the Fascist Dictatorships),"
Journal of Letters: Vol. 30:
Iss.
1, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.30.1.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol30/iss1/3