Journal of Letters
Publication Date
2001-01-01
Abstract
สถานภาพ "ญี่ปุ่นศึกษา" ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๓๕ (ค.ศ. ๑๙๕๗-๑๙๙๒) บทความนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษา "ญี่ปุ่นศึกษา" ในประเทศไทยตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๕๗-๑๙๙๒ ซึ่งเป็นระยะที่การสอนและสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ งานวิจัย และบทความเกี่ยวกับญี่ปุ่น มีความ แพร่หลายอย่างมาก มหาวิทยาลัยหลายแห่งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดได้เปิดสอนภาษาและ วิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับญี่ปุ่น สาเหตุของความนิยมดังกล่าวคือ ประการแรก จำนวนนักวิชาการ เกี่ยวกับญี่ปุ่นซึ่งได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในประเทศทางตะวันตก และมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น นักวิชาการเหล่านี้ส่วนใหญ่กลับมาทำงานในมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น ประการที่สอง หน่วยงาน ญี่ปุ่นในประเทศไทย เช่น มูลนิธิญี่ปุ่นให้ความสนับสนุนงานวิจัย และการพิมพ์เรื่องเกี่ยวกับ ญี่ปุ่น ประการที่สาม สำนักพิมพ์ไทยสนใจพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะอยู่ในความ นิยม คนไทยสนใจเหตุผลของการประสบความสําเร็จทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ดังจะพบว่า หนังสือ หลายเล่มให้ความสนใจในประเด็นนี้ ในท้ายบทความได้เสนอแนวโน้ม ปัญหา และแนวทาง แก้ไข "ญี่ปุ่นศึกษา" ในประเทศไทย พร้อมทั้งกล่าวถึง "ญี่ปุ่นศึกษา" ในประเทศแถบเอเชีย
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.30.1.2
First Page
14
Last Page
37
Recommended Citation
ตันเสียงสม, สุรางค์ศรี
(2001)
"สถานภาพ "ญี่ปุ่นศึกษา" ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๓๕ (ค.ศ. ๑๙๕๗-๑๕๕๒) (The Status of "Japanese Studies" in Thailand, 1957-1992),"
Journal of Letters: Vol. 30:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.30.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol30/iss1/2