Journal of Letters
Publication Date
2000-06-01
Abstract
ที.เอส.เอเลียต ได้ประพันธ์บทกวีส่วนใหญ่ในช่วงเวลาที่โลกประสบวิกฤตการณ์อัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง นั่นคือสงครามโลก ครั้งที่ 1 และ 2 ด้วยเหตุนี้ ผลงานเหล่านี้จึงถูกครอบงำด้วยบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว เนื่องจากโลกถูกคุกคามด้วยการล่มสลายของอารยธรรม ทำให้เกิดความท้อแท้สิ้นหวังและ ความหดหู่เศร้าหมอง สิ่งนี้ตรงกับความรู้สึกของคนทั่วไป ผลงานของเอเลียตจึงสามารถดึงดูด ความสนใจของผู้อ่านได้มาก อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนขอแย้งว่ากวีนิพนธ์ของเอเลียตมิได้เสนอ โลกที่ท้อแท้สิ้นหวังเสียทีเดียว แม้ผลงานเหล่านี้จะมิได้ให้ความเชื่อมั่นว่าสามารถขจัดความ หดหู่เศร้าหมองได้หมดสิ้น แต่ก็แสดงให้เห็นว่ามีทางไปถึงจุดดังกล่าวได้ แนวคิดนี้เห็นได้ตั้งแต่ ในผลงานสำคัญชิ้นแรก คือ The Waste Land และเห็นได้ชัดเจนมากในบทกวีขนาดยาวชิ้น สุดท้ายคือ The Four Quartets
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.29.2.2
First Page
20
Last Page
34
Recommended Citation
ยุวชิต, พจี
(2000)
""ความหวัง" ในกวีนิพนธ์ของ ที. เอส. เอเลียต ("Hope" in T. S. Eliot's Poetry),"
Journal of Letters: Vol. 29:
Iss.
2, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.29.2.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol29/iss2/2