•  
  •  
 

Journal of Letters

Publication Date

1998-01-01

Abstract

การซ้อนคำในภาษาไทยเป็นวิธีการสร้างคำขึ้นใช้ในภาษาไทยวิธีหนึ่ง ที่คนไทยนิยมตั้งแต่สมัย สุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบัน วิธีการดังกล่าวเกิดจากการซ้อนคำหรือกลุ่มคำตั้งแต่ 2 ถึง 4 หน่วยที่มีความ หมายเหมือนกัน คล้ายคลึงกัน หรือตรงข้ามกัน ผู้เขียนได้ศึกษาการซ้อนคำที่เกิดจากความหมายทั้ง 3 ประเภท ในด้านลักษณะ หน้าที่ และที่มาของคำที่นำมาซ้อนกัน นอกจากนั้นยังได้ศึกษาการ พัฒนาการซ้อนคําตั้งแต่สมัยดั้งเดิม ผลการศึกษาแสดงว่าคำหรือกลุ่มคำที่นำมาซ้อนกันนั้นมีสาเหตุมา จากความหมายซึ่งเหมือนกัน คล้ายคลึงกันหรือตรงข้ามกัน โดยไม่คำนึงว่าลักษณะของคำ จำนวนพยางค์ ที่มาของคำ ระดับของคำที่นำมาซ้อนกันแตกต่างกันหรือไม่ การซ้อนคำดังกล่าวบางกรณีทำให้เกิดคำซ้อน ซึ่งจะมีความหมาย 3 ประเภท คือ ความหมายเป็นความหมายเดียว ความหมายเพิ่มจากความหมายเดิม ของหน่วยแต่ละหน่วย และความหมายเป็นความหมายรวม ผลการสำรวจทัศนคติของคนไทย 80 คน (อาจารย์มหาวิทยาลัย 40 คน และนิสิต 40 คน) ต่อการซ้อนคำปรากฏว่าร้อยละ 77.5 เห็นว่า ข้อความ ภาษาไทยที่มีการซ้อนคำไพเราะสละสลวยกว่าข้อความที่ไม่มีการซ้อนคำ ข้อสังเกตประการหนึ่งที่พบคือ การซ้อนคำซึ่งแต่เดิมเป็นการซ้อนคำหรือกลุ่มคำธรรมดา ได้พัฒนาเป็นการซ้อนสลับและการซ้อนซ้ำ นอกจากนั้นเรามักพบลักษณะคำที่มีการซ้อนคำในข้อความที่เป็นพรรณนาโวหารและเทศนาโวหารด้วย

DOI

10.58837/CHULA.JLETTERS.27.1.5

First Page

58

Last Page

74

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.