Journal of Letters
Publication Date
1998-01-01
Abstract
บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสืบประวัติการบัญญัติศัพท์คำว่า phoneme, allophone, morpheme, allomorph, lexeme, word-form ในภาษาอังกฤษ และคำว่า "หน่วยเสียง" "หน่วยเสียงย่อย" "หน่วยคำ" "หน่วยคำย่อย" "หน่วยศัพท์" "รูปคำ" ในภาษาไทย และอภิปราย นิยามของคำเหล่านี้ บทความชิ้นนี้ยังชี้ให้เห็นปัญหาที่เกิดจากศัพท์บัญญัติ 2 คำ ได้แก่ "หน่วยคำ และ "หน่วยคำย่อย" คำศัพท์บัญญัติทั้งสองคำนี้ก่อให้เกิดความสับสนในการอธิบายมโนทัศน์เรื่อง morpheme และ lexeme แก่นักเรียนชาวไทย ผู้เขียนจึงได้เสนอคำศัพท์ชุดใหม่ในบทความชิ้นนี้ ได้แก่ "หน่วยสัทอรรถ" สําหรับคําว่า morpheme "สัทอรรถ" สำหรับคำว่า morph "สักอรรถ ย่อย" สำหรับคำว่า allomorph และ "สัทอรรถวิทยา" สำหรับคำว่า morphology คำศัพท์ บัญญัติชุดใหม่ช่วยขจัดความสับสนระหว่างหน่วยพื้นฐานในระดับต่าง ๆ ในภาษาและสะท้อน ข้อเท็จจริงทางวิชาการว่าวิชา morphology เป็นวิชาที่มุ่งหาหน่วยภาษาที่เล็กที่สุดที่ประกอบด้วย องค์ประกอบ 2 ส่วนคือ เสียงและความหมาย
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.27.1.3
First Page
24
Last Page
43
Recommended Citation
เทพกาญจนา, กิ่งกาญจน์
(1998)
"เหตุใดจึงไม่ควรบัญญัติศัพท์ morpheme ว่า "หน่วยคำ" (Problems of the Thai Coinage "nùay kham" for the English Word "Morpheme"),"
Journal of Letters: Vol. 27:
Iss.
1, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.27.1.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol27/iss1/3