Journal of Letters
Publication Date
1993-01-01
Abstract
การกล่อมเกลาทางการเมือง หมายถึง การดำเนินการให้บุคคลมีความเชื่อถือในค่านิยม ทัศนคติ และแบบแผนของระบอบการปกครองที่เป็นอยู่หรือที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป ให้บุคคลสํานึกในบทบาทหน้าที่ที่ "ถูกต้อง" ของตน ในฐานะผู้แสดงไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้นำหรือผู้ตาม การดำเนินการดังกล่าวนี้ นับว่าเป็นสิ่ง จำเป็นที่รัฐต้องกระทำ ทั้งนี้ก็เพราะว่า สาระและปรัชญาของระบอบการปกครองใด ๆ จะไม่ยั่งยืนมั่นคง หาก มิได้รับการยอมรับและสนองตอบจากผู้อยู่ใต้การปกครอง ดังนั้นเจตนารมณ์ทางการเมืองการปกครองของสังคมจึงต้องส่งผ่านออกไป เพื่อให้เกิดการยอมรับ การกล่อมเกลาทางการเมืองนี้ รัฐอาจจะกระทำในหลาย วิธี ที่สำคัญวิธีหนึ่งก็คือ การจัดการศึกษาเพื่อกล่อมเกลาทางการเมือง สำหรับสังคมไทย กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองโดยระบบการศึกษาที่ชัดเจนเริ่มในสมัยรัชกาล ที่ ๕ โดยใช้แบบเรียนหลวงเป็นสื่อ เนื้อหาสาระของแบบเรียนหลวงได้ส่งผ่านความคิดเรื่องรัฐประชาชาติ เพื่อตอกย้ำให้เกิดสำนึกในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนภายในชาติ การชี้ให้เห็นความสําคัญและคุณประโยชน์ของการมีรัฐบาลและการปกครองบ้านเมือง โดยเฉพาะความสูงส่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในฐานะ ที่เป็นศูนย์รวมอำนาจทางการเมือง การปกครอง ซึ่งนักเรียนจะต้องเป็นผู้สํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของ องค์พระมหากษัตริย์ และจงรักภักดีต่อเบื้องพระยุคลบาท
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.25.1.5
First Page
91
Last Page
107
Recommended Citation
มัสเจริญ, วัชรินทร์
(1993)
"แบบเรียนสังคมศึกษากับการกล่อมเกลา ทางการเมืองในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ศึกษากรณีความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์,"
Journal of Letters: Vol. 25:
Iss.
1, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.25.1.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol25/iss1/5