Journal of Letters
Publication Date
1992-08-01
Abstract
ท่ามกลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยปัจจุบัน ศิลปหัตถกรรมและ หัตถกรรมพื้นบ้าน อันเป็นงานช่างฝีมือที่มีศิลปะวิจิตรงดงาม และทรงคุณค่าที่ได้สืบทอดกันมาช้านาน โดยช่างฝีมือ คนไทย กำลังจะสูญหายไปทีละน้อยทีละน้อย สาเหตุประการสำคัญเนื่องมาจากการทํางานหัตถกรรมนั้นเป็นงานที่ ต้องใช้เวลาและความอดทน รายได้ที่ได้รับก็ไม่คุ้มกับเวลาและแรงงานที่ลงไป เมื่อเปรียบเทียบกับการไปขายแรงงาน หรือทำงานประเภทอื่นตามความต้องการของสังคม ซึ่งให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่า เยาวชนรุ่นใหม่ในท้องถิ่น ต่าง ๆ จึงมองข้ามการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากบรรรพบุรุษของตน ยิ่งไปกว่านั้น งานศิลปะชั้นสูงซึ่งเป็นงาน ประณีตศิลป์ที่ล้ำค่า ก็ขาดผู้สืบทอดเช่นกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งการขาดครูผู้ฝึกสอน ทั้งนี้เนื่อง จากจำนวนครูผู้รู้ในศิลปะนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลงทุกวัน ๆ อันเนื่องมาจากวัยและการหวงวิชาความรู้ของตน ใน ภาวการณ์ดังกล่าว มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นสถาบันหนึ่งที่มี บทบาทสําคัญในการผลิตช่างฝีมือที่สามารถประดิษฐ์งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่งดงาม ตลอดจนงานประณีตศิลป์ที่ งามวิจิตรบรรจง อาทิ งานคร่ำ งามถมยาดำ ถมตะทอง (นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ถมเงิน ถมทอง) งานเครื่องเงิน เครื่องทอง งานตกแต่งด้วยปีกแมลงทับ เป็นต้น ซึ่งการแสดงผลงานของเหล่าศิลปินของมูลนิธิศิลปาชีพได้ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับชาวไทยและชาวต่างประเทศมาแล้ว บทความนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงวิธีการฝึกช่างฝีมือในโครงการศิลปาชีพซึ่งมีวิธีการคัดเลือกนักเรียน และการ ดการเรียนการสอนที่แตกต่างจากสถาบันฝึกช่างฝีมืออื่น ๆ โดยการศึกษาจากการสัมภาษณ์ นักเรียน ครูฝึก และผู้ร่วมงานอื่น ๆ ณ โรงฝึก ศิลปาชีพสวนจิตรลดา ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนฝึกช่างฝีมือของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.24.2.8
First Page
114
Last Page
123
Recommended Citation
ยังเจริญ, พิพาดา
(1992)
"การฝึกช่างฝีมือในโครงการศิลปาชีพ,"
Journal of Letters: Vol. 24:
Iss.
2, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.24.2.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol24/iss2/8