Journal of Letters
Publication Date
1992-08-01
Abstract
ในอดีตที่มา ชาวบ้านในชนบทของไทยประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก และใช้เวลาว่างทำงาน หัตถกรรมเพื่อเป็นเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้สอย ดังเช่น การทอผ้า หรือ การจักสาน มาเป็นเวลาช้านาน อย่างไร ก็ตามเมื่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคมเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสังคมไทยเข้าสู่สมัยพัฒนาภายหลังสงคราม โลกครั้งที่สอง ชาวไร่ชาวนาหันมานิยมซื้อเครื่องอุปโภคและบริโภคจากโรงงานแม้กระทั่งของที่เคยทำขึ้นใช้เอง เนื่องจากมีความสะดวกมากกว่า โดยเหตุนี้งานประดิษฐ์หัตถกรรมพื้นบ้านจึงซบเซาลง ใน พ.ศ. ๒๕๑๓ สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงริเริ่มการส่งเสริมให้ชาวชนบทประดิษฐ์งานศิลปหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม เพื่อช่วยเพิ่มรายได้จากอาชีพหลักคือการเกษตรกรรม ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๒๙ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมูลนิธิศิลปาชีพขึ้น เพื่อขยายการส่งเสริมดังกล่าวไปสู่ทุกภูมิภาค จะเห็นได้ว่าจนถึงปัจจุบันนี้ชาวไร่ชาวนาซึ่งเป็นสมาชิกของโครงการศิล ปาชีพสามารถประดิษฐ์งานศิลปหัตถกรรมนานาประเภทซึ่งมีความประณีตงดงาม สิ่งที่น่าสนใจก็คือมูลนิธิศิลปาชีพมีวิธีการเช่นใด ในการชักจูงให้ชาวไร่ชาวนาเกิดความกระตือรือร้นในการประดิษฐ์ศิลปหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม บทความเรื่องนี้มุ่งศึกษาประเด็นดังกล่าวข้างต้น โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์สมาชิกโครงการศิลปาชีพ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครูฝึก และข้าราชการท้องถิ่นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บทความเรื่องนี้จะกล่าวถึงประเภท ของงานศิลปหัตถกรรมในโครงการศิลปาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งวิเคราะห์ถึงวิธีการในการกระตุ้น ชาวไร่ชาวนา ให้มีความสนใจและความผูกพันกับงานศิลปหัตถกรรม อันเป็นอาชีพเสริมของพวกเขาเหล่านั้น
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.24.2.7
First Page
102
Last Page
113
Recommended Citation
ธนประสิทธิ์พัฒนา, สุวดี
(1992)
"ชาวไร่ชาวนากับศิลปาชีพ,"
Journal of Letters: Vol. 24:
Iss.
2, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.24.2.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol24/iss2/7