Journal of Letters
Publication Date
1991-07-01
Abstract
โลกในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ นั้น มนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งเดียวกัน สิ่งแวด ล้อมนั้นอยู่ภายในตัวเรา ในช่วงสังคมบุพกาลถือกันว่าธรรมชาติเป็นสิ่งมีชีวิตและมีความศักดิ์สิทธิ์ ชาว อินเดียนแดงพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือกล่าวถึงแม่น้ำว่าเป็นเสมือนมารดาของเขา พฤกษ์พรรณดังเช่นพี่ และขุนเขาดังเช่นน้อง ธรรมชาติและมนุษย์อยู่ร่วมกันดังครอบครัวเดียวกัน เมื่อชาวผิวขาวเข้ามาพร้อม กับความประสงค์ที่จะ "ซื้อ" ผืนดินของเขา เขาเหล่านั้นก็ให้ประหลาดใจอย่างมากต่อความคิดที่ว่าผืนดิน เป็นสิ่งหนึ่งที่จะถูกซื้อและขายได้ ชาวญี่ปุ่นให้ความยกย่องโลกแห่งธรรมชาติ และเรียกสิ่งเหล่านั้นว่าเป็น "คามิ" ซึ่งมีความหมายว่าเทพเจ้า คามิอาจจะเป็นวิญญาณบรรพบุรุษ, หัวหน้าโคตรตระกูล, แม่น้ำ, ภูเขา, ต้นไม้และอื่น ๆ คนไทยเราเรียกวิญญาณในโลกของธรรมชาตินี้ว่า "ผี" อันเป็นสิ่งที่เราควรเคารพและบูชา
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.23.2.4
First Page
57
Last Page
64
Recommended Citation
สถาอานันท์, สุวรรณา
(1991)
"ทำนุรักษาโลกไว้ด้วยสตรีและพุทธศาสนา,"
Journal of Letters: Vol. 23:
Iss.
2, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.23.2.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol23/iss2/4