•  
  •  
 

Journal of Letters

Publication Date

1990-01-01

Abstract

การศึกษาแนวทางวรรณกรรมอาจกระทําได้โดยพิจารณาวรรณคดีของชาตินั้น ๆ ในช่วงเวลาที่ต่อ เนื่องในประวัติศาสตร์ หรืออาจศึกษา โดยเริ่มจากวรรณกรรมปัจจุบันหรืออดีตที่ใกล้ตัวเราที่สุดโดยไม่เรียง ลําดับตามยุคสมัยในประวัติศาสตร์ก็ได้ ข้อดีของการพิจารณาแนวทางวรรณกรรมด้วยวิธีหลังนี้ ทำให้ผู้ศึกษา สามารถเข้าถึงวรรณกรรมนั้น ๆ โดยประสบการณ์จากการอ่านได้ง่ายขึ้น เพราะการตีความงานวรรณศิลป์ร่วม สมัยหรือในยุคที่ไล่เลี่ยกับช่วงที่เรามีชีวิตอยู่ ย่อมง่ายกว่าการตีความวรรณกรรมที่เขียนขึ้นเมื่อหลายร้อยปีแล้ว ทั้งผู้อ่านยังสามารถเข้าใจสภาพสังคมและวัฒนธรรมในสมัยที่เป็นจุดกําเนิดวรรณศิลป์ได้ดีขึ้นด้วยความน่าสนใจของการศึกษาวรรณคดีมิได้อยู่ที่การมองวรรณกรรม ในแต่ละยุคสมัยว่ามีแนวทางอย่างไรในลักษณะการเสนอข้อมูลที่ตายตัว แต่อยู่ที่การพิจารณาว่า วรรณกรรมแต่ละยุคเปลี่ยนจากแนวหนึ่งไป สู่อีกแนวหนึ่งได้อย่างไร และเราได้พบว่า วรรณกรรมเยอรมันตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ ๑๕ ถึงปัจจุบันนั้น มัก จะเปลี่ยนแปลงในลักษณะวิภาษวิธี นั่นคือแนวทางของวรรณกรรมในยุคหนึ่งจะขัดแย้งกับแนวทางวรรณกรรม ของยุคก่อนหน้านั้นสลับกันไป ดังภาพรวมสรุปที่ผู้เขียนจะได้เสนอในบทความนี้

DOI

10.58837/CHULA.JLETTERS.22.1.7

First Page

111

Last Page

134

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.