Journal of Letters
Publication Date
1989-01-01
Abstract
นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากเชื่อว่า สิ่งมีชีวิตที่พบเห็นในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงมาจากสิ่งมีชีวิตเดิมที่มี อยู่ในอดีต การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลานับหมื่นล้านปี ทั้งนี้เนื่องจากสภาพ แวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป สิ่งมีชีวิตจึงจำต้องปรับตัวเองทั้งในด้านโครงสร้าง สรีรวิทยา ตลอดจนพฤติกรรมให้ สอดคล้อง เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมใหม่ เพื่อความอยู่รอดและโอกาสที่จะแพร่พันธุ์ คงเผ่าพันธุ์ของตนไว้ กระบวนการปรับตัวเองของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวจะเกิดขึ้น ถ่ายทอดและสืบเนื่องต่อกันไปได้ด้วยการสืบพันธุ์แบบเพศ กล่าวคือ การสืบพันธุ์แบบมีเพศจะทําให้เกิดมีสิ่งมีชีวิตใหม่ที่มีลักษณะหลากหลาย ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตคือวัตถุดิบของกระบวนการนี้ เพราะในบรรดาความหลากหลายดังกล่าว จะมีลักษณะบางลักษณะ ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในขณะนั้นมากกว่าลักษณะอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตใดที่มีลักษณะดังกล่าว ก็จะมีโอกาส ดีกว่าสิ่งมีชีวิตที่ลักษณะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมน้อยกว่า ในอันที่จะดำรงชีวิตอย่างประสบความสำเร็จ เมื่อ เวลาผ่านไป ลูกหลานของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมก็ จะมีจำนวนมากกว่าสิ่งมีชีวิตที่ไม่มี ความเหมาะสมดังกล่าวมากขึ้นทุกที ในที่สุดสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม สูญพันธุ์ไปในที่สุด อย่างไรก็ดี ลักษณะที่เหมาะสมหรือสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในขณะหนึ่ง ๆ ก็ไม่เหมือน กัน สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต่างก็ต้องผ่านกระบวนการดังกล่าว และทุกชีวิตก็จำต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดด้วยการ ปรับปรุงตนเองไปตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นกระบวนการคัดเลือก โดยธรรมชาติ (Natural Selection) เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งมีชีวิตที่มีคุณภาพเหมาะสมกับธรรมชาติในขณะ นั้น ๆ แนวความคิดนี้เป็นของ Charles Darwin นักชีววิทยาผู้มีชื่อเสียงซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อเกือบสองร้อยปีที่ ผ่านมา ธรรมชาติจําเป็นต้องคัดเลือกสิ่งมีชีวิต เนื่องจากทรัพยากรของธรรมชาติที่จะต้องใช้ในการบำรุงรักษา และคงพืชพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตไว้ เช่น อาหาร ที่อยู่ ที่อยู่อาศัย และปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อชีวิตนั้น มีปริมาณจำกัด ผู้ที่สมควรจะได้มีโอกาสใช้ทรัพยากรดังกล่าวก็ควรจะเป็นผู้ที่สามารถนําทรัพยากรนั้นมาใช้ได้คุ้มค่า เต็มที่ เช่น สามารถมีลูกหลานแข็งแรง มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวได้สูง ทำให้สามารถคงเผ่าพันธุ์ของตน ไว้ได้นาน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าจุดมุ่งหมาย (goal) ของธรรมชาติจะมุ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตที่มีคุณภาพเหมาะสม กับสภาพธรรมชาติในขณะนั้น ๆ มากที่สุด
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.21.1.5
First Page
55
Last Page
60
Recommended Citation
ยศยิ่งยวด, อุษณีย์
(1989)
"ปัญหาการทำแท้งในทัศนะของนักวิทยาศาสตร์,"
Journal of Letters: Vol. 21:
Iss.
1, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.21.1.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol21/iss1/5