Journal of Letters
Publication Date
1988-07-01
Abstract
การศึกษาวิเคราะห์ผลงานชิ้นเอกของ Emile Zola ได้แก่นวนิยายชุด Les Rougon-Mae- quart ทำให้เราเห็นประจักษ์ชัดว่าในทัศนะของนักเขียนชาวฝรั่งเศสผู้นี้วรรณกรรมมีบทบาทประการใดต่อ สังคม ตลอดช่วงเวลา ๒๒ ปี แห่งการเขียนนวนิยายชุดยาวนี้ ความคิดของ Zola ได้พัฒนาไปโดยลำดับ นับแต่การที่นักเขียนใช้วรรณกรรมเป็นสื่อกลางในการวิเคราะห์และตีแผ่ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม ในการปลุกสํานึกสังคมให้ต่อต้านความยุติธรรม ตลอดจนใช้วรรณกรรมเป็นเครื่องมือโจมตีผู้บริหารประเทศที่ ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาด ท้ายที่สุด สำนึกในพันธกิจของนักเรียนต่อสังคมทำให้ Zola ก้าวออก จากบรรณพิภพ เพื่อเผชิญหน้าโดยตรงกับศัตรูแห่งสัจจะและความยุติธรรมในการต่อสู้เพื่อปกป้องมนุษยชาติ ผู้บริสุทธิ์ ในคดี Dreyfus คดีการเมืองซึ่งสั่นสะเทือนยุโรปในปลายศตวรรษที่ ๑๙ศตวรรษที่ ๒๐
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.20.2.6
First Page
81
Last Page
128
Recommended Citation
นาควัชระ, ทัศนีย์
(1988)
"บทบาทของวรรณกรรมและพันธกิจของนักเขียน ในทัศนะของ Emile Zola,"
Journal of Letters: Vol. 20:
Iss.
2, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.20.2.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol20/iss2/6