Journal of Letters
Publication Date
1988-07-01
Abstract
ภาษามาเลย์และศาสนาอิสลามนอกจากจะมีบทบาท และมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อวิถีชีวิตของ ชาวมุสลิม ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ จนถึงปัจจุบันแล้ว ก็ยังได้มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตภายในสังคมมุสลิมใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปัจจุบันอีกด้วย อันได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา ซึ่งมีประชากรมุสลิมในปัจจุบัน ประมาณ ๑,๐๖๙,๘๓๗ คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๒,๐๕๕,๙๗๓ คน ถึงแม้ความผูกพันอย่างลึกซึ้ง ระหว่างภาษามาเลย์กับศาสนาอิสลามได้ทำให้การดำรงชีวิตของชาวมุสลิมใน ๕ จังหวัดชายแดนดังกล่าวมี ความหลากหลายแตกต่าง ไปจากวิถีชีวิตของสังคมกลุ่มใหญ่ภายในประเทศก็ตาม แต่ก็มิได้เป็นอุปสรรค หรือ ปัญหาร้ายแรงต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองสืบไปแต่อย่างใด จึงกล่าวได้ว่าทั้งภาษามาเลย์และศาสนา อิสลามต่างก็มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าภาษามาเลย์ไม่เพียงแต่ทำหน้า ที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทต่อการปลูกฝังและการอบรมบ่มนิสัย ให้สมาชิกภายในสังคมได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเมืองตามแนวทางอิสลามอีกด้วย
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.20.2.5
First Page
62
Last Page
80
Recommended Citation
หมานสนิท, อาณัติ
(1988)
"ภาษามาเลย์กับศาสนาอิสลามใน ๕ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ในปัจจุบัน,"
Journal of Letters: Vol. 20:
Iss.
2, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.20.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol20/iss2/5