Journal of Letters
Publication Date
1988-07-01
Abstract
ในความคิดของคนทั่วไป บัณฑิตก็คือผู้ที่ได้รับการศึกษาในขั้นสูง และโดยความเชื่อถือที่ว่าการ ศึกษาช่วยให้คนมีความรู้ความคิดที่ดีขึ้น บัณฑิตก็ควรจะเป็นผู้ที่ทรงไว้ซึ่งคุณสมบัติที่ดี เป็นคนชั้นดีของสังคม เป็นความหวังของสังคม เพราะเป็นผู้ที่จะนำสังคมต่อไป คุณสมบัติที่ดีซึ่งคนทั่วไปคาดหวังว่าบัณฑิตจากมหา วิทยาลัยควรจะมีนั้น มิใช่แต่เพียงวิชาความรู้เท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการทุจริต หรือการกระทํา ที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ถ้าผู้ที่กระทำการเช่นนั้นเป็นผู้สําเร็จการศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยแล้ว หนังสือพิมพ์ มักไม่เว้นที่จะต้องลงข่าวอย่างเน้นย้ําว่า "บัณฑิต" เป็นผู้กระทํา เช่น "บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยมีชื่อปลอม แปลงเอกสารราชการ" บัณฑิตร่วมค้าของต้องห้าม" การเสนอข่าวเช่นนี้สะท้อนให้เห็นความคิดที่ว่า บัณฑิต ไม่ควรกระทําการทุจริตดังกล่าว เพราะฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า บัณฑิตเป็นที่คาดหวังของชนทั่วไปในลักษณะ ที่มิใช่เป็นแต่เพียงผู้ทรงความรู้แต่เป็นผู้ที่ควรจะเป็นคนดี มีความประพฤติที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือความรู้สูงนั้นควรจะทำให้คนเป็นคนดีด้วย บัณฑิตในฐานะที่มีโอกาสเล่าเรียนมากกว่า คนอื่น ๆ อีกเป็นจํานวนมากก็ควรจะเป็นผู้มีคุณธรรมและเป็นคนดีด้วย
First Page
163
Last Page
171
Recommended Citation
กุลละวณิชย์, ปราณี and หมอกยา, ภาวรรณ
(1988)
"ในแวดวงอักษรศาสตร์ : ข้อคิดจากงานจุฬาวิชาการ ในเรื่องการฝึกฝนความเป็นบัณฑิต,"
Journal of Letters: Vol. 20:
Iss.
2, Article 11.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol20/iss2/11