Journal of Letters
Publication Date
1987-07-01
Abstract
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงภายในสังคมไทย จากสังคมจารีตเป็นสังคมสมัยใหม่ และมีการก่อตัวของรัฐ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางพุทธศาสนาที่มีปฏิสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและภูมิปัญญา ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางพุทธศาสนาในระยะดังกล่าวได้แก่ การสถาปนาธรรมยุติกนิกาย ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนแนวความคิดทางพุทธศาสนาที่สำคัญ ๆ อันได้แก่ แนวความคิดเรื่อง กรรม แนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์ แนวความคิดเรื่องเป้าหมายของชีวิต รวมทั้งแนวความคิดเกี่ยวกับรัฐและกษัตริย์ ซึ่งได้คลี่คลายเปลี่ยนแปลงจากรัฐแบบจักรวรรดิ ที่พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นจักรพรรดิหรือธรรมิกราชาธิราช มาสู่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นองค์อธิปัตย์ที่มีอำนาจเด็ดขาดเหนือพลเมืองทั้งหมด ในรัฐอย่างแท้จริง บทความนี้จะพยายามอธิบายความเปลี่ยนแปลงของแนวความคิดเกี่ยวกับรัฐและกษัตริย์ ของผู้นำธรรมยุติกนิกายในระยะตั้งแต่มีการสถาปนานิกายนี้โดยวชิรญาณภิกษุ (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจนตลอดสมัยที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.19.2.1
First Page
1
Last Page
14
Recommended Citation
ช่วงสกุล, ศรีสุพร
(1987)
"แนวความคิดเกี่ยวกับรัฐและกษัตริย์ ของผู้นำธรรมยุติกนิกาย ระหว่าง พ.ศ. 2368 - 2464,"
Journal of Letters: Vol. 19:
Iss.
2, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.19.2.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol19/iss2/1