Journal of Letters
Publication Date
1987-01-01
Abstract
นักคิด นักค้นคว้า นักปราชญ์ รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย ได้ตระหนักถึงภาระรับผิดชอบที่มีต่อสังคม แต่มีข้อสังเกตว่า ต้องเป็นสังคมที่เที่ยงธรรมเท่านั้น จึงจะได้รับประโยชน์งดงาม ในวงวิทยาการ การประเมินคุณค่า ซึ่งกันและกัน และโดยสังคมภายนอก เป็นปัจจัยสําคัญที่จะขาดเสียมิได้ แต่ทั้งนี้พึงระวังว่า สังคมภายนอกอาจกําหนด บทบาทให้นักวิทยาศาสตร์อํานวยผลประโยชน์แก่บางองค์การโดยเฉพาะ เช่น ธุรกิจ การแลกเปลี่ยนทางวิทยาการระหว่าง ประเทศก่อให้เกิดความช่วยเหลือในการพัฒนา นักวิทยาศาสตร์ บ้างก็เป็นผู้ให้ บ้างก็เป็นผู้รับ ผู้รับจะต้องพร้อมที่จะช่วย ตนเองได้ และต่อไปจะต้องช่วยผู้อื่นได้ด้วย ในการประเมินผลของการให้เพื่อการพัฒนา สิ่งสําคัญคือการพิจารณาว่า การให้นั้นเป็นไปเพื่อสนับสนุนวิถีชีวิตในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ณ บัดนี้ วิทยาศาสตร์อาจจะไม่ "ชื่นบาน" อย่าง แต่ก่อน ซึ่งเคยเป็นการค้นคว้าหาความรู้โดยเสรี ปราศจากกฎเกณฑ์ใด ๆ มาควบคุม แต่วิทยาศาสตร์ก็จะเป็นวิทยาศาสตร์ ที่ "ร่วมทุกข์ร่วมสุข" กับประชากรทั้งมวลของโลก
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.19.1.7
First Page
59
Last Page
67
Recommended Citation
นาควัชระ, เจตนา
(1987)
"THE PLIGHT OF THE MODERN SCIENTIST,"
Journal of Letters: Vol. 19:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.19.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol19/iss1/7