Journal of Letters
Publication Date
1985-01-01
Abstract
ระยะเวลาหลังจากที่ไทยทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398 สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาจนถึงสิ้นรัชกาลที่ 5 ใน พ.ศ. 2453 นั้น เป็นช่วงเวลาที่มีชาวจีนและชาวตะวันตกเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ มากขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด สำหรับชาวจีนในเวลานั้น เมืองจีนกำลังเกิดภัยพิบัติจากการสู้รบ แย่งชิงอำนาจทางการเมือง ตลอดจนเกิดทุกขภัยทางธรรมชาติต่าง ๆ อันนำมาซึ่งความอดอยากยากจน ด้วยเหตุนี้ชาวจีนเป็นจำนวนไม่น้อย จึงต้องเดินทางออกไปแสวงหาที่ทำกินแห่งใหม่นอกประเทศ ส่วนชาวตะวันตกนั้นเมื่อบ้านเมืองของตนได้เข้าสู่สภาวะความสงบภายหลังการสิ้นสุดสงครามนโปเลียนแล้ว ก็ได้มีการ เดินทางออกนอกยุโรป เพื่อแสวงหาอำนาจในดินแดนอื่นอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากความต้องการแหล่ง วัตถุดิบ และแหล่งระบายสินค้าที่กำลังทวีมากขึ้นภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม รวมทั้งแนวความคิดจักรวรรดินิยมที่กำลังมีบทบาทสำคัญในเวลานั้น ขณะเดียวกันทางเมืองไทยได้เป็นช่วงระยะเวลาที่เปิดความ สัมพันธ์ทางการทูตและการค้ากับต่างประเทศมากขึ้น อีกทั้งมีการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยในด้านต่าง ๆ ในการนี้จำเป็นต้องอาศัยวิทยาการ เทคโนโลยี ผู้ประกอบการ และแรงงานจากภายนอกประเทศด้วย สภาพ การณ์เช่นนี้จึงทำให้ชาวจีนและชาวตะวันตกที่เดินทางออกนอกประเทศของตนได้เข้ามาในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็น ศูนย์กลางการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ในเวลานั้นเป็นจำนวนมาก กรุงเทพฯ จึงประกอบด้วยกลุ่มชน ที่มีบทบาทและฐานะที่แตกต่างกันเป็น 3 กลุ่มสําคัญ คือ ชาวไทย ชาวจีน และชาวตะวันตก ซึ่งได้มีที่ ตั้งชุมชนของตนอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของเมืองกรุงเทพฯ
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.17.1.7
First Page
78
Last Page
100
Recommended Citation
ทัพภะสุต, สาวิตรี
(1985)
"ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนชาวไทย จีน และ ตะวันตก ในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2398-2453,"
Journal of Letters: Vol. 17:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.17.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol17/iss1/7