Journal of Letters
Publication Date
1985-01-01
Abstract
ถ้าจะมีคำถามว่าภายในช่วง 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมานี้ แบบการ (model) ที่อธิบายเหตุการณ์ แบบใดเป็นที่นิยมมากที่สุด คำตอบที่ได้ก็คงจะเป็นแบบที่คาร์ล พอพเพอร์ (Karl Popper) ได้เสนอขึ้นมา และคาร์ล เฮมเพล (Carl Hempel) ได้พัฒนาต่อมาในภายหลัง แบบการนี้อาจเรียกว่า deductive-nomological model ก็ได้ (deductive หมายถึงการสรุปแบบนิรนัย ส่วน nomological หมายถึงการ อธิบายแบบที่ใช้กฎสากลประจักษ์ (universal empirical law) เป็นข้ออ้าง) หรือเรียกว่า covering law model ก็ได้ (หมายความว่าจะอธิบายเหตุการณ์โดยทำให้เราสามารถเห็นว่า เหตุการณ์นั้น ๆ อยู่ภายใต้ กฎสากลประจักษ์ที่แบบการนี้ใช้เป็นข้ออ้าง) แบบการนี้นักปรัชญาเริ่มใช้เป็นครั้งแรกตามแบบนักวิทยาศาสตร์ ที่อธิบายเหตุการณ์ธรรมชาติ โดยการอธิบายที่เรียกว่า deductive nomological และนักปรัชญาที่สนใจใน ประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์ เห็นว่าควรใช้การอธิบายแบบนี้กับงานของตนด้วยเช่นกัน
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.17.1.4
First Page
55
Last Page
63
Recommended Citation
ไดค์, ริชาร์ด
(1985)
"การอธิบายและจุดมุ่งหมายของประวัติศาสตร์,"
Journal of Letters: Vol. 17:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.17.1.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol17/iss1/4