Journal of Letters
Publication Date
1985-01-01
Abstract
สงครามไทย-พม่าที่อุบัติขึ้นในช่วงต้นของพุทธศตวรรษที่ 22 นับเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญใน ประวัติศาสตร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป กล่าวได้ว่าลักษณะสงครามที่เป็นสงครามข้ามภูมิภาค ระหว่างสองอาณาจักรที่เป็นใหญ่อยู่คนละฟากของเทือกเขาตะนาวศรีทำให้สงคราม ไทย-พม่า มีขนาดและรูปแบบที่ต่างไปจากสงครามครั้งอื่น ๆ โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์สงครามที่ผู้นำอยุธยาเคยเผชิญมาแล้ว อาทิ สงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างราชวงศ์อู่ทองและสุพรรณบุรี หรือ สงครามระหว่างอยุธยากับพระนครหลวง และสงครามระหว่างอยุธยากับลานนาประเทศ กล่าวได้ว่าสงครามไทย-พม่าไม่เพียงอาศัยไพร่พลและ อาวุธยุทโธปกรณ์เป็นจำนวนมหาศาล แต่ยังเป็นสงครามยืดเยื้อที่แผ่ปริมณฑลออกไปอย่างกว้างขวางกว่า สงครามครั้งใดๆ ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อฐานะและ ความสำคัญของเมืองในขอบขัณฑสีมาของอยุธยาที่ปริมณฑลของสงครามขยายตัวไปถึง ทำให้เมืองที่ครั้งหนึ่ง เคยเป็นเมืองศูนย์กลางในทางการค้าและวัฒนธรรมได้กลายสภาพเป็นเมืองทางยุทธศาสตร์ โดยฉับพลัน รวมถึงกรุงศรีอยุธยาเองด้วย แต่ในที่นี้จะขอศึกษาเฉพาะกรณีเมืองนครสวรรค์ซึ่งมีหลักฐานระบุอย่างเด่นชัด ว่าเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญเมืองหนึ่งในช่วงสงครามไทย-พม่าในฐานะ "เมืองชุมพล" หรือ "ประชุมพล"
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.17.1.2
First Page
15
Last Page
26
Recommended Citation
ชุตินธรานนท์, สุเนตร
(1985)
"เมืองประชุมพลในประวัติศาสตร์สงครามไทย-พม่า สมัยอยุธยา (พ.ศ. 2106-พ.ศ. 2129) ศึกษากรณีเมืองนครสวรรค์,"
Journal of Letters: Vol. 17:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.17.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol17/iss1/2