Journal of Letters
Publication Date
1984-07-01
Abstract
ในภาษาไทยมีคำไวยากรณ์ชนิดหนึ่งใช้หลังคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ทำหน้าที่เสริมความหมายของกริยาหรือคุณศัพท์ที่อยู่ข้างหน้าให้ได้ความสมบูรณ์โดยแสดงทิศทาง บอกการณ์ลักษณะ หรือคุณลักษณะ เน้นน้ำหนักหรือแสดงความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี คำชนิดนี้มีรูป เหมือนคำกริยา แต่ตำแหน่งและหน้าที่ต่างกัน ความหมายก็ต่างกัน แม้จะยังเกี่ยวโยงกันอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย คำชนิดนี้เรียกว่า "คำเสริมกริยา" ในบทความบทนี้ได้วิเคราะห์ถึงรายละเอียดของ การใช้และความหมายของคำเสริมกริยา 5 คํา คือ "ไป" "เข้า" "ขน" "ลง" และ "เสีย" คำเสริมกริยาเป็นคําไวยากรณ์ชนิดหนึ่ง ใช้หลังกริยาหรือคุณศัพท์ ทำหน้าที่เสริม ความหมายของกริยาหรือคุณศัพท์ที่อยู่ข้างหน้าให้ได้ความสมบูรณ์โดยแสดงทิศทาง ลักษณะหรือคุณลักษณะ เน้นน้ำหนัก หรือแสดงความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี เช่น คำว่า "ไป" "มา" "ขน" "ลง" "เข้า" "ออก" "อยู่" "แล้ว" "ไว้" "เสีย" "ดู" "เอา" "ให้" ฯลฯ
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.16.2.5
First Page
73
Last Page
96
Recommended Citation
พันเต๋อติ่ง
(1984)
"การใช้คำเสริมกริยาบางคำ,"
Journal of Letters: Vol. 16:
Iss.
2, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.16.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol16/iss2/5