Journal of Letters
Publication Date
1984-07-01
Abstract
ภาษาในตระกูลมอญ-เขมรส่วนใหญ่เป็นภาษาไม่มีวรรณยุกต์ อย่างไรก็ตาม ภาษาในตระกูลนี้ บางภาษา เช่น ภาษาเวียดนาม ภาษาขมุ (บางถิ่น) ภาษาสัมเต้า (ปลั่ง) ฯลฯ ได้กลายเป็นภาษามีวรรณยุกต์ และบางภาษา เช่น ภาษาญัฮกุร (ชาวบน) ภาษาชอง ฯลฯ กำลังจะกลายเป็นภาษามีวรรณยุกต์ ขบวนการ เปลี่ยนแปลงจากการไม่มีวรรณยุกต์ไปสู่การมีวรรณยุกต์กำลังดำเนินอยู่ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในภาษาตระกูลมอญ-เขมร ช่วยยืนยันความถูกต้องของสมมติฐานเกี่ยวกับ กำเนิดและวิวัฒนาการของวรรณยุกต์ในภาษาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนักภาษาศาสตร์ อาทิเช่น โอดริกุรต์ เมทิซ็อฟ ฯลฯ ได้ตั้งไว้ นั่นคือสมมติฐานที่ว่า พยัญชนะต้น พยัญชนะท้าย ลักษณะน้ำเสียงและระดับเสียงมี ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างลึกซึ้ง และเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้วรรณยุกต์ปฏิสนธิ กำเนิด และเจริญเติบโต
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.16.2.4
First Page
53
Last Page
72
Recommended Citation
ล. ทองคำ, ธีระพันธ์
(1984)
"กำเนิดและวิวัฒนาการของวรรณยุกต์ ในภาษามอญ-เขมร,"
Journal of Letters: Vol. 16:
Iss.
2, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.16.2.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol16/iss2/4