Journal of Letters
Publication Date
1983-07-01
Abstract
เมื่อต้นทศวรรษที่แล้วการศึกษาภาษาในเชิงสังคมวิทยาได้เจริญก้าวหน้าไปมาก ทำให้มีผู้ศึกษาลักษณะการแปรเปลี่ยนของภาษาโดยมีองค์ประกอบทางสังคมเป็นตัวแปร องค์ประกอบที่สำคัญอันหนึ่งคือ เพศของผู้ใช้ภาษา กอร์ปทั้งเมื่อต้นทศวรรษที่แล้ว ขบวนการเรียกร้องสิทธิของสตรีได้ขยายวงออกไปอย่าง แพร่หลาย จึงเป็นเหตุให้ นักภาษาศาสตร์สตรีหลายคนสนใจศึกษาค้นคว้าการใช้ภาษาของผู้หญิงว่ามีลักษณะ อย่างไรและลักษณะนั้น ๆ จะเป็นเครื่องบั่นทอน นสิทธิเสรีภาพของสตรีทั้งทางปฏิบัติและทางความคิดหรือไม่ เพียงใด งานค้นคว้าในเรื่องภาษาของผู้หญิงตามแนวภาษาศาสตร์สังคมที่รู้จักกันแพร่หลายคืองานของโรบิน เลคอฟ แต่เนื่องจากงานของเลคอฟยังขาดการสนับสนุนทางสถิติที่จะมายืนยันสมมติฐาน "ภาษาผู้หญิง" จึงมีนักภาษาศาสตร์สตรี ๒ คน คือ เฟ ครอสบี และ ลินดา ในควิสต์ ศึกษา "ภาษาผู้หญิง" โดยใช้สมมติ- ฐานของเลคอฟ การศึกษาประกอบด้วยงานวิจัยการใช้ภาษาของหญิงและชาย ๓ เรื่องด้วยกัน งานวิจัยแรก ศึกษาการสนทนาของนิสิตปริญญาตรีชาย-หญิง งานวิจัยที่สอง ใช้การสนทนาของผู้ต้องการข่าวสารจากหน่วย ประชาสัมพันธ์ซึ่งผู้ถามและประชาสัมพันธ์เป็นชายและหญิง งานชิ้นที่สามศึกษาการสนทนาของผู้ไปติดต่อ สถานีตำรวจชานเมืองกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ การวิจัยใช้วิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลปรากฏว่า การค้นพบที่ ได้รับมีนัยสำคัญทางสถิติ และสนับสนุนสมมติฐานของเลคอฟที่ว่าผู้หญิงใช้ "ภาษาผู้หญิง" มากกว่าผู้ชาย
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.15.2.2
First Page
15
Last Page
27
Recommended Citation
ครอสบี, เฟ; ในควิสต์, ลินดา; and ผลากรกุล, อังกาบ
(1983)
"ภาษาผู้หญิง : การศึกษาสมมติฐานของเลคอฟ,"
Journal of Letters: Vol. 15:
Iss.
2, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.15.2.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol15/iss2/2