Journal of Letters
Publication Date
1982-01-01
Abstract
จุดอ่อนที่สำคัญของกลุ่มทฤษฎีที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแบบคลาสสิคคือ ข้อสมมุติที่ว่า นักบริหาร มีพฤติกรรมเยี่ยงมนุษย์เศรษฐกิจ บทความนี้เสนอว่า นักภูมิศาสตร์อุตสาหกรรมควรเลิกยึดถือกลุ่มทฤษฎี ดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าถึงปัญหาเกี่ยวกับที่ตั้งโรงงาน และหันมาเริ่มต้นกันใหม่โดยการศึกษานัก อุตสาหกรรมในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์ที่ใช้ทั้งเหตุผลและอารมณ์ในการตัดสินใจ เป้าประสงค์ในการประกอบ อาชีพของนักอุตสาหกรรมอาจจัดว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญในกระบวนการการตัดสินใจดังกล่าว นักอุตสาหกรรม จะมีเป้าประสงค์อยู่หลายข้อ เป้าประสงค์เหล่านี้อาจขัดแย้งกัน บางข้ออาจเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ส่วนตัว และบางข้ออาจเกี่ยวกับความเจริญของบริษัท เป้าประสงค์เหล่านี้อาจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ โดยเฉพาะใน แง่ที่เป็นตัวกําหนดปริมาณและคุณภาพของทำเลที่ตั้งที่นักอุตสาหกรรมจะดำเนินการแสวงหา เมื่อจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งโรงงาน ย้ายที่ตั้งโรงงานหรือเปิดโรงงานสาขา
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.14.1.5
First Page
70
Last Page
81
Recommended Citation
ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, นโรตม์
(1982)
"เป้าประสงค์ของนักอุตสาหกรรมกับทฤษฎีที่ตั้งโรงงาน,"
Journal of Letters: Vol. 14:
Iss.
1, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.14.1.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol14/iss1/5