Journal of Letters
Publication Date
1981-07-01
Abstract
นักคติชนวิทยาตะวันตก มีความคิดต่างกันในเรื่องกำเนิดเพลงพื้นบ้าน กลุ่มหนึ่งเชื่อว่าปัจเจก บุคคลเป็นผู้สร้างสรรค์เพลง และมีการคิดไตร่ตรองเป็นอย่างดี อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า กลุ่มชนเป็นผู้สร้างเพลง พื้นบ้าน สำหรับเพลงพื้นบ้านไทยปัญหาเช่นว่านี้ไม่เกิดขึ้น เพราะเป็นที่ยอมรับกันว่า เพลงพื้นบ้านไทยเกิดจากกลุ่มชนได้แก่ชาวบ้านซึ่งสร้างเพลงจากปฏิภาณของตนไม่มีการตระเตรียมไตร่ตรองเพื่อเป็นการบรรเทา ความตึงเครียดจากการทำงาน และเพื่อแสดงออกซึ่งความปิติในการทำงานสำเร็จ หรือแสดงออกซึ่งอารมณ์ พิเศษ เพลงพื้นบ้านของไทยมีลักษณะเด่นในการที่มีพ่อเพลงแม่เพลง และมีการซ้ำคำ พ่อเพลงแม่เพลง นอกจากจะมีบทบาทสำคัญในการรักษาเพลงไว้มิให้สูญหายแล้ว ยังมีส่วนในการสร้างสรรค์เพลงให้เป็นที่นิยม ในหมู่นักฟังที่แตกต่างกัน และในสมัยที่ต่างกันอีกด้วย ส่วนการซ้ำคำในเพลงพื้นบ้าน ถึงแม้จะมีนักคติชน วิทยาตะวันตกให้คำอธิบายว่าอาจเนื่องจากข้อจํากัดในเรื่องจำนวนศัพท์ในภาษา แต่สำหรับเพลงพื้นบ้านของไทย การซ้ำคำมิใช่เพราะขาดถ้อยคำ แต่เพื่อความสนุกสนานครึกครื้น เปิดโอกาสให้มีคนร่วมร้องเป็นลูกคู่ได้ เป็นการให้เวลาผู้ร้องในการคิดโต้ตอบ นอกจากนี้เป็นการทำให้เห็นชัดถึงความสามารถของผู้ร้องในการ พลิกแพลงคำบางคำในช่วงที่ซ้ำคำเพื่อแสดงความเหนือกว่ากันในเชิงคารม
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.13.2.6
First Page
76
Last Page
87
Recommended Citation
ฐิตะฐาน, ศิราพร
(1981)
"เพลงพื้นบ้านตามความคิดของนักคติชนวิทยาตะวันตก,"
Journal of Letters: Vol. 13:
Iss.
2, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.13.2.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol13/iss2/6