Journal of Letters
Publication Date
1981-07-01
Abstract
มหรสพที่แสดงเป็นเรื่องราวที่จัดเป็นละครพื้นบ้านมาแต่สมัยอยุธยานั้น ได้แก่ละครนอก ซึ่งแต่เดิมเป็นของพื้นบ้านอย่างแท้จริง ละครนอกมุ่งที่จะแสดงให้คนดูซึ่งเป็นคนพื้นบ้านได้รับความบันเทิงอย่างเต็มที่ ผู้แสดงก็เป็นคนพื้นบ้าน แต่งตัวอย่างสามัญหรือใกล้เคียงกับสามัญ ผู้แสดงซึ่งเป็นผู้ชายคิดบทและร้องเองในขณะที่ร่ายรำทำบทบาท ลักษณะของเพลงร้องมีท่วงทำนองเช่นเดียวกับเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ เรื่องที่ แสดงเป็นเรื่องที่เล่ากันเป็นนิทานในพื้นบ้านเป็นส่วนใหญ่ ในระหว่างการดำเนินเรื่อง ตัวละครจะเจรจาเล่นตลก คะนองให้เป็นที่พอใจของคนดูคล้ายวิธีการเล่นจำอวดเป็นเวลานาน ๆ ลักษณะวิธีการแสดงละครนอกเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา โดยเฉพาะในแง่ของความงดงามของท่ารำ ของเครื่องแต่งตัว และความไพเราะของบทและเพลงร้องเพลงดนตรี จนกระทั่งถึงสมัยที่อารยธรรมตะวันตก หลั่งไหลเข้ามาในสังคมไทยอย่างมากมาย ใน ช่วงรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ละครนอกก็ได้พยายามปรับปรุงกระบวนการแสดงอีกครั้งหนึ่งให้กระชับขึ้น เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและสังคมได้ แต่ปรากฏว่าลีลาชีวิตของคนไทย ในระยะนั้นเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับคนไทยส่วนมากหันไปสนใจการแสดงชนิดอื่นที่แปลกใหม่มากกว่า ละครนอกจึงไม่ได้รับความนิยมตั้งแต่ก่อน ละครนอกเท่าที่เหลืออยู่ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าเป็นเพียงมรดกที่เหลือมาจากบรรพบุรุษ มิใช่อยู่ในฐานะที่เป็นละครพื้นบ้านอย่างที่เคยเป็นเสียแล้ว
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.13.2.3
First Page
42
Last Page
56
Recommended Citation
กีระนันทน์, อารดา
(1981)
"ละครนอก : ละครพื้นบ้านของไทยแต่โบราณ,"
Journal of Letters: Vol. 13:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.13.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol13/iss2/3