Journal of Letters
Publication Date
1979-07-01
Abstract
สมมติฐานซาเฟียร์ -วอร์ฟ (The Sapir-Whorf Hypothesis)หรือที่เป็นที่รู้จักกัน แพร่หลายในนามของ สมมติฐานภาษาสัมพัทธ์ (The Linguistic Relativity Hypothesis) เน้นความ สำคัญของภาษาอย่างยิ่ง ใจความโดยย่อของสมมติฐานนี้คือ ภาษามีอิทธิพลต่อการนึกคิด การมองโลก และ การเข้าใจสิ่งแวดล้อมของผู้พูดภาษา ดังนั้นผู้ที่พูดภาษาที่ต่างกันมากก็ย่อมคิด มองโลก และเข้าใจสิ่งแวดล้อม ต่างกันมาก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ภาพของปรากฏการณ์ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกจะปรากฏต่อคนทั้งหลาย ต่างกันมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับการที่เขาเหล่านั้นพูดภาษาที่ต่างกันหรือคล้ายกัน ผู้ที่เสนอความคิดนี้อย่างเด่นชัดคือ เอ็ดเวิร์ด ซาเพียร์ (Edward Sapir) นักมานุษยวิทยา-ภาษาศาสตร์ ชาวอเมริกัน และ ศิษย์เอกของเขา เบนจามิน ลี วอร์ฟ (Benjamin Lee Whorf) สมมติฐานนี้มีอิทธิพลต่อสาขาวิชา ที่เกี่ยวข้อง คือ ภาษาศาสตร์ มานุษยวิทยา และจิตวิทยา ได้มีผู้ทำการค้นคว้า วิจัยทางสาขาวิชาดังกล่าว พิสูจน์สมมติฐานนี้ ผลของการวิจัยส่วนใหญ่ไม่ค้านสมมติฐานนี้ แต่ก็มิได้สนับสนุนสมมติฐาน ถึงขั้นที่ยกให้ภาษาเป็นตัวกำหนดกิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ผลของการวิจัย ได้พิสูจน์แล้วว่า ภาษามีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับวัฒนธรรม และมีอิทธิพลอย่างมากต่อขบวนการเรียนรู้และ ขบวนการรับรู้ของมนุษย์
DOI
10.58837/CHULA.JLETTERS.11.2.2
First Page
20
Last Page
33
Recommended Citation
ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, อมรา
(1979)
"สมมติฐานซาเพียร์ - วอร์ฟ,"
Journal of Letters: Vol. 11:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.JLETTERS.11.2.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol11/iss2/3